ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ผู้แต่ง

  • สมคิด ภู่ไพจิตร์กุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, โรงเรียนสมรรถนะสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 จำนวน 306 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีม และความยืดหยุ่นและการปรับตัว 2. ความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับดังนี้ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ การพัฒนาวิชาชีพ การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน การติดตามการเรียนรู้และการสอน ความเชื่อและความคาดหวังสูงต่อผู้เรียนทุกคน หลักสูตร การสอนและการประเมินสอดคล้องกับมาตรฐาน ความเป็นผู้นำโรงเรียนที่มีประสิทธิผล ความร่วมมือและการสื่อสารในระดับสูง และการมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน 3. ภาวะเชิงผู้นำสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (X1) การทำงานเป็นทีม (X4) ความคิดสร้างสรรค์ (X3) และวิสัยทัศน์ (X2) ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 85 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ

Tot = 0.71 + 0.11 (X1) + 0.39 (X4) + 0.22 (X3) + 0.13 (X2)

References

จักรี แก้วน้ำคำ. (2562). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบประสานพลังที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2559). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ดวงแข ขำนอก. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ตวงทอง สรประเสริฐ. (2550). ผู้นำเหนือระดับ ด้วยวิสัยทัศน์เหนืออนาคต (Leading at a higher level) กรุงเทพมหานคร : ดีเอ็มจี.

เตชินณ์ อินทบำรุง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ปุณณดา จันสูง. (2558). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อโรงเรียนสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยขอนแก่น.

พิสิฏฐ์ ชาวเสมา. (2559). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อโรงเรียนที่สมรรถนะสูงในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เพ็ญศิริ ฤทธิกรณ์. (2559). ทักษะการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิวิมล มงคลชู. (2562). แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็น องค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรพงศ์ นามนัย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัยรีน สมาแอ. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Shannon, G.S. and Bylsma, P. (2007). The Nine Characteristics of High – Performing Schools: A research-based resource for schools and districts to assist with improving student learning. (2nd Ed.). Olympia, WA: OSPI.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30