ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อกระบวนการบริหาร และการจัดการตามมาตรฐานการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยนาท สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท

ผู้แต่ง

  • วีรศรุต แก่นไร่ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
  • ทศพล ธีฆะพร มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, คุณภาพการจัดการศึกษา, มาตรฐานการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาด้านที่ 2 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท ประชากรทีใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาท จำนวน 598 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 234 คนจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา ค่าความเชื่อมั่นโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.914

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาด้านที่ 2 โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดชัยนาทอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 และ 4.10 ตามลำดับ 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษามีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นตัวแปรพยากรณ์ที่ดี โดยด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และด้านการบริหารความเสี่ยง สามารถพยากรณ์คุณภาพการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท ได้ร้อยละ 51.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ/คะแนนมาตรฐาน Y =.578+.484X2+.156X5+.258X6 / Z =.479X2+.147X5+.221X6

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมออนไลน์. https://obeclaw.obec.go.th/archives/1231.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กุลชลี จงเจริญ. (2556). หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการศึกษามัธยมศึกษา

สพม.อุทัยธานี ชัยนาท (2563) นโยบาย วิสัยทัศน์เป้าหมายและพันธกิจ 2563. จาก https://sites.google.com/a/chainatpit.ac.th/

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2562). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 9(2).

ณัฐวุฒิ ศรีสนิท. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุศรา ทับทิมศรี. (2562). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนมาตรฐานสากล. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

เบ็ญจมาศ หนูไชยทอง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

ปิยาภรณ์ พลเสนา. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนัส ทวีกัน. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาใน โครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2562. อุทัยธานี. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 2561. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานสถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา2559-2560. ออนไลน์ http://www.onec.go.th › index.php › book › BookGroup

อนุชิต โฉมศรี. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากลในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอมจิตร สมสืบ. (2561). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา : การพัฒนาและทดสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

อำภา ไชยทะ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.

Arlene Pagaura. (2020). Innovative leadership attributes of school administrators in the Philippines: Implications for educational management. Bukidnon State University, The Philippines.

Horth & Vehar. (2014). Innovation Leadership: How to Use Innovation to Lead Effectively, Work Collaboratively and Drive Results. NC: Center for creative Leadership.

Keane, Therese. (2020). Effective principal leadership influencing technology innovation in the classroom. Education and Information Technologies. 25(6): 5321-5338.

Marcelle W. Devis. (2019). Innovative Leadership. Regent University. London. Journal of Leadership, Accountability and Ethic. 16(4).

Tim Goss. (2018). Impact of Principal Leadership Style and Principal School Level on School Climate and College Career Ready Performance. Dissertation submitted Doctor of Education. Piedmont College London.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30