แนวทางการบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2

ผู้แต่ง

  • กุลชญา ชั้นเล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

การบริหารความปลอดภัย, ความต้องการจำเป็นของการบริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหาร ความปลอดภัย ในสถานศึกษา และ2) เสนอแนวทางการบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษา จำนวน 108 แห่งและทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูหัวหน้างานรักษาความปลอดภัย จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 216 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 6 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา และฐานนิยม

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ที่มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม รองลงมา คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสัตว์และแมลงมีพิษ การรักษาความปลอดภัยสุขอนามัยของนักเรียน ตามลำดับ

2. แนวทางการบริหารความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 มีดังนี้ การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ผู้บริหารควรมีการป้องกันและแก้ไขการใช้สารเสพติด เช่น การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติด การจัดอบรมค่ายคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียน การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองเมื่อนักเรียนมีปัญหา การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสัตว์และแมลงมีพิษ ผู้บริหารควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้สะอาดร่มรื่น น่าอยู่ มีความปลอดภัยแก่นักเรียน มีการดูแลภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบอาคารเรียนให้สะอาดปลอดภัยอยู่เสมอ การรักษาความปลอดภัยสุขอนามัยของนักเรียน ผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและมลพิษจากขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกต้องและเคร่งครัด งานด้านอนามัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องมีบุคคลากรที่คอยดูแลและควรมีการจัดห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะพร้อมใช้งาน การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ ผู้บริหารควรมีแนวทางการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจากอาคารเรียน อาคารประกอบการ เช่น กำหนดให้มีทางออกฉุกเฉิน มีสัญญาณการเตือนภัย แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุจากการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ควรมีแนวทาง เช่น การทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง การทำประกันชีวิตให้กับนักเรียน เป็นต้น การป้องกันและแก้ไขอุบัติภัย ผู้บริหารควรมีการป้องกันและแก้ไขการเกิดอัคคีภัย เช่น การติดตั้งถังดับเพลิง การซ้อมการหนีไฟ การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคระบาดต่าง ๆ ควรมีมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน และต้องมีตัดกิ่งไม้เพื่อป้องกันลมพายุ เป็นต้น การป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านผลกระทบจากการสู้รบและความไม่สงบ ผู้บริหารควรมีการซักซ้อมการอพยพ จัดหาที่พักพิงชั่วคราว มีแผนฉุกเฉินเพื่อให้ครูบุคลากรและนักเรียนทราบ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคง

References

กรมอนามัย. (2552). คู่มือสิ่งแวดล้อมปลอดภัยในโรงเรียน. นนทบุรี : สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมกรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556. กรุงเทพมหานคร: สำนักอำนวยการ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ.(2551). การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับชุมชนในการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรนุช อยู่เล่ห์. (2550). การศึกษาสภาพการดำเนินงานตามแผนรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดชัยนาท. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวณีย์ ศรีวรมย์. (2555). สภาพและปัญหาการดาเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอุบัติเหตุของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยนครพนม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2562. ราชบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2556). คู่มือข้อปฏิบัติและมาตรการในการรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2557). หนังสือการ์ตูนชุด “เรียนรู้สาธารณภัย” ตอนความปลอดภัยในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายผลิตสื่อโสตทัศนูปกรณ์และสิ่งพิมพ์กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ชุดฝึกอบรมผู้นำชุมชน. กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรสจำกัด.

สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การจัดการความปลอดภัยสำหรับเด็กอายุ. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สุกัญญา พรน้อย. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภายโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิจัย วัดผล และสถิติการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชีรา ใจหวังและจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 15: 50-61.

ณิชารีย์ เหลืองอร่าม. (2562). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร : ผู้แต่ง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Best, John W. 1970. Research in Education. New Jersey : Prentice-Hall.

Cardinale, O. (2015). On a generic management information system model with application to public school system. Dissertation Abstracts International. 38: 58-70.

Carr, A. R. (2011). Predicting college of agriculture professor’s adoption of computer and distance education technologies for self-education and teaching at the university of Guadalajara Mexico (internet). Unpublished doctoral dissertation, Iowa State University, United States.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Robert J. Gregory. (2015). Psychological Testing. (7rd ed.). United States: Courier Westford.

Tatnall, A., & Pitman, A. (2012). Information technology and control in educational management. Massachusetts: Kluwer Academic.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30