ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Generation Z ในศูนย์การค้าสยามสแควร์
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s, Generation Z, ศูนย์การค้าสยามสแควร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Generation Z ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่ม Generation Z กับส่วนผสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการท่องเที่ยว ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่ม Generation Z ที่มาใช้บริการศูนย์การค้าสยามแควร์มีอายุ 10 - 25 ปี จำนวน 383 คน ใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T – Test และ F – Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 39.20 อายุระหว่าง 19 - 25 ปี ร้อยละ 59.50 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 60.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ 2,000 – 3,000 บาท ร้อยละ 41.50 และที่มาของรายได้จากพ่อแม่/ผู้ปกครอง ร้อยละ 63.70 ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Generation Z ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ พบว่า กลุ่ม Generation Z มีพฤติกรรมจากส่วนประสมทางการตลาด 4C’s อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการของผู้บริโภค รองลงมาคือ ด้านความสะดวกในการซื้อของผู้บริโภค และด้านการสื่อสาร ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่ม Generation Z กับส่วนผสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการท่องเที่ยว ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ พบว่า เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อสัปดาห์ และที่มาของรายได้ ต่างกัน ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม Generation Z ในศูนย์การค้าสยามสแควร์ แตกต่างกัน ในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ณฐมน กัสปะ และฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด 4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11(1): 100-114.
มาร์เก็ตเธียร์. (2564). ส่องพฤติกรรมของคน Gen Z กลุ่มกำลังซื้อสำคัญในอนาคตที่แบรนด์ควรรู้จัก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. จาก https://marketeeronline.co/archives/ 214427.
วัลลภา พัฒนา และอันธิกา ทิพย์จำนงค์. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลท่าข้าม. รายงานฉบับสมบูรณ์ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
วุฒิพร สร้างเลี่ยน และลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคยุคใหม่ในกระทรวงพาณิชย์ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(1): 99-111.
เวิร์คพอยท์ทูเดย์. (2564). เจาะพฤติกรรมคน Gen Z ที่มักถูกเข้าใจผิดพร้อมกลยุทธ์มัดใจพิชิตยอดขายให้แบรนด์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565. จาก https://workpointtoday.com/gen-zbehavior/.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2561). สยามสแควร์กับกระแสการเปลี่ยนผ่านแห่งยุคสมัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2565. จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/ detail.188.1.0.html.
สุนทรีย์ ศิริจันทร์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักแบบโฮสเทล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สุภาภรณ์ ยิ้มใย และฐิติการท์ สัจจะบุตร. (2562). ศึกษาเรื่องปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีและส่วนประสมทางการตลาด 4C มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้งาน GHB Reward (e-Loyalty) ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ. ครั้งที่ 14. วันที่ 2 สิงหาคม 2562. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
อลิศศยานันท์ เจริญพูล. (2561). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ เครื่องสำอางผ่านระบบโมบายคอมเมิร์ซ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัญชลี เยาวราช. (2564). กลยุทธ์การตลาดในมุมมองของลูกค้า (4C’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้าภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 11(3): 163-175.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว