การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรม, ภาชนะใบตอง, ความพึงพอใจของนักเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3) แบบประเมินทักษะการประดิษฐ์ภาชนะใบตอง มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบ Rubric Scale 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่องภาชนะใบตอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 81.94/80.47 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( 4.94, S.D = 0.52)
คำสำคัญ : ชุดกิจกรรม, ภาชนะใบตอง, ความพึงพอใจของนักเรียน
References
กรมอาชีวศึกษา. (2542). เอกสารประกอบการฝึกอบรมเทคนิคการประดิษฐ์งานใบตอง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครูอาชีวศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. ( 2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กิ่งแก้ว อารีรักษ์. ( 2550). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ: เกรท เอ็ดดูเคชั่น.
จอมขวัญ สุวรรณรัตน์. ( 2547). การแกะสลักผัก ผลไม้ และงานใบตอง. กรุงเทพฯ: โอเดียมสโตร์.
พิมพา สุวรรณฤทธิ์. (2542). การสร้างเครื่องมือวัดผลการเรียน. กาญจนบุรี; ภาควิชาทดสอบและการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.
มณีรัตน์ จันทนะผะลิน. (2540). งานใบตอง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). บรรณานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลเคชั่นส์.
โรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก. (2563). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สุโขทัย: โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาลเมืองสวรรคโลก สังกัดเทศบาลเมืองสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัย. เอกสารหลักสูตร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2544). การจัดการเรียนการสอนพี่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ .(2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ช้างทอง.
สุคนธ์ สินธพานนท์. ( 2552). นวัตกรรมการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. ( 2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้;เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพฯ: เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การประเมินเอกสารประกอบการเรียนการสอน. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
อารีย์ พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหมเอดดูเคท.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว