การจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก
คำสำคัญ:
การจัดการนวัตกรรมของสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก 2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4คน และ 3) ครูสายงานการสอน จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก พบว่า มี 4 ด้าน ได้แก่ การจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคลากร การจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานงบประมาณ และการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานทั่วไป2) ระดับการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการจัดการนวัตกรรมของโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการจัดการนวัตกรรมด้านการบริหารงานทั่วไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวาน กราฟฟิก จํากัด.
ขวัญชนนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรมสำหรับสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (7) : 153.
ณัฐวราพร หลอดแก้ว. (2565). นวัตกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการ จัดการ 10 (1) : 121.
บุพกานต์ ศรีโมรา. (2562). ความหลากหลายของนวัตกรรมการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงใน โรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2542, สิงหาคม 14). พระราชกฤษฎีกา : 22
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก. (2565). ขอบเขตของงานส่งเสริมและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.spm-pn.go.th
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติ บุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). คู่มือแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษานิติบุคคลและวิธีการ ดำเนินการระบบสิทธิประโยชน์ทางการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภา การศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). นวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในประเทศไทยและ ประเทศที่คัดสรรเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว