การศึกษาและจัดทำข้อเสนอทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย
คำสำคัญ:
ข้อเสนอทางกฎหมาย, กฎหมายลำดับรอง, เด็กปฐมวัยไทยบทคัดย่อ
การศึกษา เรื่อง โครงการศึกษาและจัดทำข้อเสนอทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอในการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย วิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา พบว่า การจัดทำข้อเสนอรองรับการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย ได้ผลการจัดลำดับระดับพิจารณาจากสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562 ในมาตรา 14, 19, 23, 24, 25 และ 27 ดังนี้ ลำดับที่ 1 กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการจัดการศึกษาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาให้เชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 2 กฎหมายเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ที่มีหน้าที่หรือดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนา เด็กปฐมวัย ลำดับที่ 4 กฎหมายเกี่ยวกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อดำเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 5 กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่การจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ลำดับที่ 6 กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดสมรรถนะและตัวชี้วัดการพัฒนาเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 7 กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิภาพของเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 8 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 9 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ ลำดับที่ 10 กฎหมายเกี่ยวกับการคัดกรองเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือมีความบกพร่อง ลำดับที่ 11 กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 12 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 13 กฎหมายเกี่ยวกับการติดตามและส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศของเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 14 กฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรับเด็กปฐมวัยเข้าศึกษาในระดับอนุบาล และระดับประถมศึกษาเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 15 กฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการเพื่อพัฒนาหญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 16 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือเด็กปฐมวัย ลำดับที่ 17 กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
References
กรองทอง บุญประคอง. (2561). คุ้มครองเด็กปฐมวัย เป็นรากฐานการสร้างพลเมืองคุณภาพ. โดย กรองทอง บุญประคอง. มติชนออนไลน์, วันที่ 20 เมษายน 2561. จาก. https://www.matichon.co.th/columnists/ news_922540 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566.
คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2 .(2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : เอกสารสำนักงาน.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. วันที่ 6 เมษายน 2560.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. เล่ม 134 ตอนที่ 63 ก. วันที่ 13 มิถุนายน 2560.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561) พระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่ม 135 ก ตอนที่ 33 ก. วันที่ 13 พฤษภาคม 2561.
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (2561-2580). เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. วันที่ 13 ตุลาคม 2561.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟิก.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 - 2570. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก.
อรพรรณ บัวอิ่น. (2560). การศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนา : หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารพัฒนาการเศรษฐกิจปริทัศน์. 11(1): 75-107.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว