แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • วุฒินันท์ ประธาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุทธิพงศ ์ บุญผดุง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, การจัดการเรียนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 353 คน รวม 360 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็น สามอันดับแรก ได้แก่ ด้านการประสานความร่วมมือกับโรงเรียนและองค์กรอื่น ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ พิจารณาตามค่าความต้องการจำเป็น ดังนี้
ด้านการประสานความร่วมมือกับโรงเรียนและองค์กรอื่น ผู้อำนวยการโรงเรียนส่งเสริมให้ครูผู้สอนไปศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการโรงเรียนส่งเสริมให้ครูผู้สอนปรับเปลี่ยนและบูรณาการวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนทุกช่วงวัย และด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนส่งเสริมให้มีศูนย์การเรียนการสอนออนไลน์ใช้เป็นสถานที่อบรมครูผู้สอนและผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์

References

เกรียงศักดิ์ อุไรโรจน์ และคณะ. (2563). การบริหารงานวิชาการที่เหมาะกับการจัดการศึกษาในยุคเทคโนโลยี 4.0. สืบค้นเมื่อ เมษายน 11, 2565, จาก https://anyflip.com/hotyr/lovx.

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2564). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ มกราคม 7, 2565, จาก https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/การจัดการเรียนรู้ออนไลน์-ดร.จักรกฤษณ์-โพด.pdf.

ไชยา หานุภาพ. (2564) การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นันทวัน พูลกำลัง. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 2 ในยุคนิวนอร์มัล. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 27, 2565, จากhttp://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/170518.pdf

ปิ่นบุญญา ลำมะนา. (2563). หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา: การเสริมสร้างความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 4(2), 150-175.

พระอนันต์ ธมฺมวิริโย สุนทร สายคำ และประจิตร มหาหิง. (2564). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(1), 263-276.

วรรณกานต์ เชื้อสายใจ. (2565). กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารงานวิชาการในยุคความปกติใหม่ของผู้อำนวยการโรงเรียนในโรงเรียน กลุ่มเครือข่ายเทิดไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 27, 2565, จาก http://edu.crru.ac.th/articles/031.pdf.

สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564). การดำเนินการของสถานศึกษา : ระหว่างภาคเรียน ใน รายงานผลการนิเทศ ติดตาม ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจโรงเรียนการเตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 (น.12-19). กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.บี. เค. การพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้.

สุภาภรณ์ หนูเมือง, ศุภราภรณ์ ทองสุขแก้ว, สมุทร สีอุ่น, ทิวาพร เพ็ชรน่วม และศุภกร ทองสุขแก้ว. (2565). พฤติกรรมการเรียนและปัจจัยความสำเร็จในการเรียนระบบออนไลน์บนแอพลิเคชั่นไมโครซอฟทีม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 28, 2565, จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/GRAURU/article/view/256096/173026.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

อิสสริยา พรายทองแย้ม. (2563). เรียนออนไลน์: เด็กในสหราชอาณาจักรเรียนอย่างไรช่วงล็อกดาวน์. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/52442922.

EDUCA. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้ครูอเมริกา-แคนาดาสู้ COVID-19. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2565, จาก https://www.educathai.com/videos/370.

WHO, UNICEF & CIFRC. (2020). Key Messages and Actions for COVID 19 Prevention and Control in Schools. Retrieved January 10, 2022, from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/for-covid-19-prevention-and-control-in-schools-march-2020.pdf?sfvrsn=baf81d52_4 &download=true.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-08