ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมา ในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนที่เลือกเรียนภาษาเมียนมาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา ดาบคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ณัฐกานต์ ภาคพรต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ไพรัช มณีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพผู้เรียน, การเรียนภาษาเมียนมา, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 2) ระดับคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอนภาษาเมียนมา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.961 เก็บรวบรวมได้ข้อมูลกลับคืนมาจำนวน 373 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านทรัพยากรทางการศึกษา ปัจจัยด้านผู้เรียน และปัจจัยด้านผู้ปกครอง 2) ระดับของคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับแรกคือ คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม รองลงมาคือ คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และลำดับสุดท้ายคือ คุณภาพผู้เรียนด้านทักษะชีวิตและการทำงาน และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในการเรียนภาษาเมียนมาในศตวรรษที่ 21 คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านผู้ปกครอง ด้านผู้บริหาร และด้านทรัพยากรทางการศึกษา สามารถร่วมพยากรณ์คุณภาพผู้เรียน ได้ร้อยละ 71.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

บุศรา เต็มลักษมี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิทยาบริการ, 26 : 8

ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพจน์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพรัช มณีโชติ. (2563). การสอนภาษาเมียนมาเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนไทยในเขตชายแดนประจวบคีรีขันธ์ : การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมเพื่อสร้างวิถีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในบริบทโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 10 : 142.

วราภรณ์ ลวงสสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร”, 6 : 14.

สุนทรียา สุวรรณโคตร. (2560). การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิริพร เฉลิมชุติเดช. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 12 : 36.

Chen Chen. (2565). Factors Affecting Online Chinese as a Foreign Language Learning Stickiness : A Study on International Students in China. Frontiers in Psychology,12 : 10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-08