รูปแบบการเสริมสร้างบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การเสริมสร้าง, บริหารจัดการ, โรงเรียนคุณธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร 2) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเสริมสร้างบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การจัดสนทนากลุ่มกับผุ้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 รูป/คน ด้วยแบบบันทึกการสนทนาใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และประเมินรูปแบบจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย 1) การสร้างการรับรู้ และการยอมรับโรงเรียน 2) การสร้างครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำ 3) การกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 4) การกำหนดวิธีบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 5) การลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง (คุณธรรมอัตลักษณ์) และ 6) การสร้างกลไกการขับเคลื่อน
- รูปแบบการเสริมสร้างบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย รูปแบบการสร้างการรับรู้ และการยอมรับ รูปแบบการสร้างครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำ รูปแบบการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 4) รูปแบบการกำหนดวิธีบรรลุคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน รูปแบบการลงมือปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง (คุณธรรมอัตลักษณ์) และรูปแบบการสร้างกลไกการขับเคลื่อน
- ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมในจังหวัดพิจิตร ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและความมีประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กฤตเมธ อุ่นโพธิ, สำเนา หมื่นแจ่ม, และคณะ. (2564). สภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนบ้านหนองเงือก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. บทความวิจัย. การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานชาติ ประจำปี ๒๕๖๔. สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย.
คมลิขิต นามไว, ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียนคุณธรรม. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, ปีที่ 9 (1), มกราคม – มิถุนายน.
ณัฐพร ส่งศรี และสงวน อินทร์รักษ์. (2562). การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ ๓. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): 712-724.
นิเวศน์ อุดมรัตน์. (2555). รูปแบบการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 29-30.
พระเทพเวที(ป.อ.ปยุตโต).(2535). การศึกษาที่สากลบนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย.กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.
พระมหารถศรี อินธิสิทธิ์ (ติกฺขปญฺโญ). (2563). การบริหารโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ต้นแบบ:กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศรีรักษ์ เรืองรัตน์. (2563). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่มาตรฐานตามโครงการ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนสังกัดส านักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ., 2560: 1.
สำนักเลขาธิการการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579: 71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว