รูปแบบการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามหลักอปริหานิยธรรม

ผู้แต่ง

  • ณัฐพงษ์ ประวิทย์สกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • พระมหาอุดร อุตฺตโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์
  • พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, หลักอปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามหลักอปริหานิยธรรม 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามหลักอปริหานิยธรรมการวิจัยครั้งนี้เป็นใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่ประกอบด้วย วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสามเส้า (Methodological Triangulation) ได้แก่ การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย (Target Group Interview) จำนวน 9 คน การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จำนวน 400 ฉบับมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และการวิเคราะห์รูปแบบ (Model Analysis) และนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.23 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ที่ 4.32 รองลงมาได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร  มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่ 4.26  ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ด้านการวัดและประเมินผล ที่ 4.10 เท่านั้น 2) ผลการรูปแบบการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามหลักอปริหานิยธรรม ประกอบด้วย 15 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสนับสนุน และการแบ่งปันภาวะผู้นำตามหลักอปริหานิยธรรม 2. ด้านการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการมีเป้าหมายเดียวกันคือผู้เรียนตามหลักอปริหานิยธรรม 3. ด้านการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการร่วมมือของสมาชิก ตามหลักอปริหานิยธรรม 4. ด้านการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการพูดคุยสะท้อนคิดตามหลักอปริหานิยธรรม 5. ด้านการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับการเปิดรับการเรียนรู้ซึ่งกันและกันตามหลักอปริหานิยธรรม 6. ด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสนับสนุน และการแบ่งปันภาวะผู้นำตามหลักอปริหานิยธรรม 7. ด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการมีเป้าหมายเดียวกันคือผู้เรียนตามหลักอปริหานิยธรรม 8. ด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการร่วมมือของสมาชิกตามหลักอปริหานิยธรรม 9. ด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพูดคุยสะท้อนคิดตามหลักอปริหานิยธรรม 10. ด้านการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเปิดรับการเรียนรู้ซึ่งกันและกันตามหลักอปริหานิยธรรม 11. ด้านการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงสนับสนุน และการแบ่งปันภาวะผู้นำตามหลักอปริหานิยธรรม12. ด้านการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับการมีเป้าหมายเดียวกันคือผู้เรียนตามหลักอปริหานิยธรรม 13. ด้านการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับการร่วมมือของสมาชิกตามหลักอปริหานิยธรรม 14. ด้านการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับการพูดคุยสะท้อนคิดตามหลักอปริหานิยธรรม 15. ด้านการวัดและประเมินผลเกี่ยวกับการเปิดรับการเรียนรู้ซึ่งกันและกันตามหลักอปริหานิยธรรม 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการบนเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามหลักอปริหานิยธรรม พบว่า ภาพรวมทั้ง 15 ด้าน ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

กองวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย. (2555). พุทธธรรม 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย.

นวลลออ พลรักษา. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชอบ จันทาพูน และคณะ. (2561). กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเทศบาล 1 ต้นยาง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2(13). 17-27

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พัชรา แย้มสาราญ. (2559). กระบวนทัศน์การพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัสวดี ควรทรงธรรม. (2562). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพจากภายใน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558).กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายสุนีย์ กอสนาน. (2562). ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยผสมผสานเครือข่ายสังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบไตร่ตรองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. แหล่งที่มา: http://www.thaischool1.in.th/_files_school/94010001/data/94010001

_1_20210916-124154.pdf สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564.

สุวิมล สพฤกษ์ศรี. (2561). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30