แนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค ละออ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ธีระวัฒน์ มอนไธสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา, การบริหารงานแนะแนว, ระดับมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายบริหารวิชาการ หัวหน้างานแนะแนว และครูที่ปรึกษา ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 25 คน หัวหน้างานแนะแนว จำนวน 25  คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 175 คน รวมทั้งสิ้น 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริการติดตามและประเมินผล รองลงมาคือ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ       ด้านบริการเก็บข้อมูลรายบุคคล ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี คือ เรื่องแนวทางเกี่ยวกับการใช้ระเบียนพฤติการณ์พฤติการณ์ เพื่อจดบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ดังนี้ สถานศึกษาต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระเบียนพฤติการณ์นักเรียน จัดให้มีการประชุมระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว ครูที่ปรึกษา บุคลากร และผู้ปกครอง กำหนดหัวข้อในการจัดทำระเบียนพฤติการณ์นักเรียน ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการเก็บระเบียนพฤติการณ์นักเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาช่วยเหลือและสนับสนุนนักเรียนในด้านการเรียน ครอบครัว และความต้องการการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เรื่องแนวทางเกี่ยวกับการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับนักเรียนด้านส่วนตัวและสังคม ดังนี้ สถานศึกษาต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน เชิญวิทยากรจากหน่วยงานหรือองค์กรในท้องถิ่น ที่มีความรู้ในด้านการดูแลตัวเอง จิตใจ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมมาให้ความรู้แก่นักเรียน ใช้เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเก็บข้อมูล และจัดทำแบบสอบถามโดยใช้ Google Form เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกวิทยากรให้ตรงตามความสนใจ เมื่อนักเรียนได้รับความรู้แล้ว สถานศึกษาต้องจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการรับฟังวิทยากรบรรยายด้านส่วนตัวและสังคม โดยใช้ Google Form ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และให้นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจด้วยตนเอง จากนั้นประมวลผลข้อมูล สรุปรายงานผู้บริหารสถานศึกษา และนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุง เพื่อดำเนินการในปีการศึกษาต่อไป เรื่องแนวทางเกี่ยวกับการจัดทำสถิติผู้มาขอรับคำปรึกษาอย่างเป็นระบบ ดังนี้ สถานศึกษาต้องแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำสถิติผู้มาขอรับคำปรึกษา วางแผนการจัดทำแบบบันทึกการให้คำปรึกษา  โดยสร้างแบบฟอร์มเก็บข้อมูลเป็นไฟล์ Excel หรือสร้างแพลตฟอร์มสำหรับเก็บข้อมูลการให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้มาขอคำปรึกษา  และบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มการให้คำปรึกษา มีการประมวลผลข้อมูลเมื่อปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการวิเคราะห์และประเมินผล และรายงานผลสถิติการขอรับคำปรึกษาในรูปแบบแผนภูมิแสดงจำนวนและร้อยละ เรื่องแนวทางเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการติดต่อจัดหางานแก่นักเรียนโดยเป็นสื่อกลางระหว่างนายจ้างกับนักเรียน ดังนี้ สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในการติดต่อจัดหางานแก่นักเรียน ประสานงานทำความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานจัดหางานจังหวัด เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานระหว่างเรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติและรายงานผลต่อผู้บริหารสถานศึกษาและนำข้อเสนอแนะจากการรายงานผล ปรับปรุงแก้ไขในการดำเนินงานปีการศึกษาถัดไป เรื่องแนวทางเกี่ยวกับการติดตามผลการทำงานหรือการสร้างรายได้ระหว่างเรียน ดังนี้ สถานศึกษาต้องประสานงานและทำบันทึกความร่วมมือกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน จัดให้มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อทำให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม มีเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง เพื่อความถูกต้อง ชัดเจนของข้อมูลจัดทำสถิติข้อมูลการทำงานหรือการสร้างรายได้ระหว่างเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลในรูปแบบแผนภูมิและร้อยละ ทุกปีการศึกษา

References

เกศรา น้องคะนึง. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณิศร์ จับจิตต์. (2559). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมงานแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ณัฐกานต์ ภิญญะวัย. (2562). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแนะแนวตามความต้องการของชุมชน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ชัชฏาภรณ์ ภูตันวงษ์. (2559). การดำเนินการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

ธีราภรณ์ สุ่มมาตย์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนวัดตะพงนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่12) พ.ศ.2560-2564

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 และฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. (2565). .(ออนไลน์). แหล่งที่มา https:// https://www.sesalop.go.th/สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-10