การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ งามใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • นฤมล ภูสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนRemove ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้แรงไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 3) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหนองขาม(ทองงามวิทยา) จำนวนนักเรียน 18 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน                    3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)  ผลวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1 / E2 มีค่าเท่ากับ 78.84/75.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75
  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ แรงไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
  2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัลยาณี ศรีสุขพันธ์. (2562). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ เรื่อง กรด-เบส. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์, วิทยาลัยครู

สุริยเทพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

โกวิท ฮุยเสนา. (2559). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามแนวการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุวรรณ ไร่ขาม. (2559). การพัฒนาผลการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง การทำปลาส้มไร้ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ (ค.ม. หลักสูตรและการเรียนการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้าง ชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี (2553). ศาสตร์การสอน. องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

นภาลัย อิ่นคำ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนนวมินทราชูทิศพายัพ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลกัสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ (หลักสูตรและการสอน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : .สุวีริยาสาส์น.

ปิณิดา สุวรรณพรม. (2563). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นฐานและแบบโครงงานเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน), จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

พัฒน์ชนน คงอยู่. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมโครงงานเป็นฐานเรื่องงานและพลังงาน กรณีศึกษา : โรงเรียนมัธยมวัดเขาสุกิม.หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. (2553). การสอนคิดด้วยโครงงาน การเรียนการสอนแบบบูรณาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุวัฒน์ พันชนกกุล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ที่ส่งเริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โรงเรียนบ้านหนองขาม (ทองงามวิทยา). (2564 น.).รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจําปีการศึกษา 2563. อัดสำเนา.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2544). โครงงานเพื่อการเรียนรู้ หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลุฏฟี ดอเลาะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอน

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานสรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET). (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.onetresult.niets.or.th/Announ cementWeb/MainSch/MainSch.aspx?mi=3. 4 ตุลาคม 2565.

Aziz, Nahida. (2006). “The Impact of the BACIP Physical Construction Improvement Technique on Classroom learning Environment,” Masters Abstracts International. 44(02): unpaged; April.

Bloom, B.S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York: McGraw – Hill.

Dewey, J. (1993). How to Think. Boston D.C. heath Company.

Ennis, R. H. (1985). Critical Thinking and the Curriculum. National Forum: Phi Kappa Phi .Journal.

Watson, G. and Glaser, E.M. (1964). Watson Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. New York: Harcourt, Brace and World Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-20