การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Our Town สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐณิชา ดิษยวนิช มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ชวนพิศ รักษาพวก มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐาน, แบบฝึกทักษะ, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้    Our Town โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Our Town สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ Our Town สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาฝายวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบวัดทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ Our Town โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.42/80.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนทักษะการอ่านออกเสียงคำศัพท์ และประโยคภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยสมองเป็นฐาน ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีคะแนนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา. นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทางการศึกษา.

จารุณี โพธิ์อ่อง. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี: วารสารวิจัยรำไพพรรณี.

จิฑาภรณ์ จูมาศ. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้สมองเป็นฐานร่วมกับการบริหารการจัดการของสมอง. นิสิตปริญญาโท สาขาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก: วารสารราชพฤกษ์.

ณภัชนันท์ บุญระมี. (2563). การใช้กลวิธีการอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นสมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา แห้วตะนะ. (2562). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เรื่อง Animals ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาอังกฤษประกอบการจัดการเรียนรู้แบบ BBL. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง". มหาวิทยาลัย

ราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

พรพิไล เลิศวิชา. (2558). การพลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออก เขียนได้ ใน 1 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

พัชรี สิทธา. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้ (ประถมศึกษา): มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมพ์ชญา ธนาพรพงศ์สถิต. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย โดยใช้รูปแบบสมองเป็นฐานของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล. สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา: วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์.

ภัทรวดี ปันติ. (2558). ผลการใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางที่มีต่อทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษและการกล้าแสดงออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนกมล-เรียม สุโกศล(บ้านผาใต้). วารสารบัณฑิตวิจัย.

ภาคิน แจ้งกิจ. (2564). การพัฒนาความสามารถการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ DR-TA ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเน้นสมองเป็นฐาน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มาธวี กันทะสอน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วารุณี ศิริ. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่มีผลต่อทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาสารคาม.

สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ค่าสถิติแยกตามรายวิชาสำหรับโรงเรียน. เข้าถึงจาก: https://drive.google.com/drive/folders/1ZD2Zsr5UJKGuV_XaJB-H1TWkYw6yvv5v

สถาบันวิทยาการเรียนรู้. (2550). หลักสูตรการเรียนรู้แบบ Brain Based Learning. กรุงเทพฯ: สถาบันวิทยาการเรียนรู้.

สุภาพร ตาตะ. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยวิธีการสอนแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพมหานคร: เอเค บุ๊ค.

อัมพร วสันต์. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Hoge (2003). The Integration of Brain-Based Learning and Literacy Acquisition. Dissertation Abstract International: Dissertation Abstract International, 63(11), 3884-A.

Jensen (2000). Brain-based learning: the new science of teaching and training. San Diego, CA: The Brain Store.

Petty, Green. (1963). Language Workbooks and Practices Materials. Development Language Skills in the Elementary Schools. New York: Alum and bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-03