ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคต่อนวัตกรรมสุราพื้นบ้านในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธีรกัญญา ตั้งสุวรรณรังษี วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กัญญา ตั้งสุวรรณรังสี วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤชคุณ ผาณิตญาณกร วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สราวุธ เนียรวิฑูรย์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วัลลภา โพธาสินธ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สุราพื้นบ้าน, การยอมรับของผู้บริโภค, รูปแบบการดำเนินชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อนวัตกรรมสุราพื้นบ้านในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคต่อนวัตกรรมสุราพื้นบ้านในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคสุราพื้นบ้าน จำนวน 385 คน โดยวิธีการคำนวณตัวอย่างของคอร์แครน และสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 

            1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นด้วยของการยอมรับของผู้บริโภคต่อนวัตกรรมสุราพื้นบ้านในประเทศไทย อยู่ในระดับมาก

            2) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค ได้แก่ ด้านความสนใจ (Interests) ด้านกิจกรรม (Activities) และด้านความคิดเห็น (Opinions) มีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคต่อนวัตกรรมสุราพื้นบ้านในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถพยากรณ์การส่งผลได้ร้อยละ 82.1

            ข้อเสนอแนะ คือ 1) ผู้ประกอบการ ควรสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับตราสินค้าของสุราพื้นบ้านในแต่ละชุมชน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักสุราพื้นบ้านมากขึ้น 2) ควรให้การสนับสนุนการผลิตสุราพื้นบ้านจากผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน เพื่อให้เกิดการแปรรูปผลผลิตและเพิ่มการจัดจำหน่ายมากขึ้น และ3) หากรัฐบาลสามารถส่งเสริมการนำเสนอสุราพื้นบ้านได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น จะช่วยให้เกิดการเป็นที่รู้จักมากขึ้น

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). กระทรวงการคลังเดินหน้าออกกฎกระทรวงการผลิตสุราฯ ปลดล็อคเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถแข่งขัน ทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พร้อมเน้นย้ำ ต้องควบคุมคุณภาพ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม.จากhttps://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9 /iid/133008.

กรมสรรพสามิต. (2565). กระทรวงการคลังเดินหน้าออกกฎกระทรวงการผลิตสุราฯ ปลดล็อคเพิ่มโอกาสให้ ผู้ประกอบการรายเล็ก สามารถแข่งขัน ทั้งยังส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พร้อมเน้นย้ำ ต้องควบคุมคุณภาพ ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม.จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61123.

พรรณปพร ลีวิโรจน์ ประกายทิพย์ พิชัย ภูริทัต สิงหเสม และจุฑารัตน์ รุ่งจำรัส. (2559). การพัฒนาโปรแกรมลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวัยรุ่นอาชีวศึกษา.วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ปีที่ 34 (2),273-299.

พัชยา ขันทะรักษ์ ธีระวุธธรรมกุล และนิตยา เพ็ญศิรินภา. (2563). พฤติกรรมการบริโภคสุราของประชาชนในชุมชนที่มีการผลิตสุรากลั่นชุมชน ตําบลสะเอียบ อําเภอสอง จังหวัดแพร่.

สุพัฒน์ กุมพิทักษ์ และกําพล กาหลง. (2545). อุ สาโท น้ำตาลเมา เหล้าต้ม เหล้าพื้นบ้านไทย. เกษตรกรรม ธรรมชาติฉบับที่ 8: 12-17.สถานภาพการผลิตและการตลาดสุราแช่พื้นบ้านในภาคเหนือตอนบน.

Cochran, W. G. (1953). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Michman, R. D. (1991). Lifestyle Market Segmentation. New York: Praeger.

Plummer, J. T. (1974). The concept and application of life style segmentation. Retrieved February 10, 2023, from https://www.jstor.org/stable/1250164

Solomon, Michael R. (1996). Consumer Behavior. 3 rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

Wanna Yongpisanphob. (2562). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. จากhttps://www.krungsri.com /th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/beverage/ io/io-beverage-20-th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-03