ปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุพรทิพย์ ขัตติยธีรากร วิทยาลัยนวัตกรรมการทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • รวีวรรณ กลิ่นหอม วิทยาลัยนวัตกรรมการทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธัญธรณ์ อมรกิจภิญโญ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

ปัญหาการบริหารงานวิชาการ, กลุ่มกรุงเทพกลาง, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกตามเพศ และ 3) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนกลุ่มกรุงเทพกลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิชนิดไม่มีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

          1.ครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย

2. ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ

3. ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัญหาการบริหารงานวิชาการของกลุ่มกรุงเทพกลาง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ

References

กษิรา วาระรัมย์. (2556). การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้น

ฐาน พุทธศักราช 2551. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธนวัฒน์ เขียวหวาน. (2560). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายที่ 29 กรณีศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่ สํานักงานเขตหลักสี่ สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดขอบข่ายและภารกิจการบริหารสถานศึกษา. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564–2569). กรุงเทพมหานคร: วันไฟน์เดย์.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. Retrieved Retrieved June 20, 2023, from https://webportal. bangkok.go.th/upload/user/00000116/PTay/EbookStat65.pdf

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). คู่มือการปฏิบัติงาน ฝ่ายการศึกษา กรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561. Retrieved January 10, 2023, from https://shorturl.at/bmAEL

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2550). การจัดและการบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3(1): 42-48.

Matana Wiboonyasake. (2023). ผู้หญิงกับเทคโนโลยี: Aware เน้นที่ความสามารถและเปิดรับทุกคนอย่างเท่าเทียม. Retrieved June 20, 2023, from https://shorturl.at/bABGY

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30