แนวทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • daranee kuha มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา , การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้างานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 113 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 มีสภาพการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในการระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และการประยุกต์ใช้ในชีวิต และ 2) แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน ประกอบด้วยรายการปฏิบัติ 30 รายการ จำแนกเป็น 5 ด้าน คือ (1) ด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และการประยุกต์ใช้ในชีวิต มี 5 รายการปฏิบัติ  (2) ด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มี 8 รายการปฏบัติ  (3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก มี 5 รายการปฏิบัติ  (4) ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มี 6 รายการปฏิบัติ และ (5) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มี 6 รายการปฏิบัติ

References

จุลลี่ ศรีษะโคตร. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. (ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ : แนวทางปฏิบัติสำหรับครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(2): 214-228.

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานเขตเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อำนาจ เหลือน้อย . (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตรฐานสากล. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

Dufour, R, Eakey, & Many, T. (2006). Learning by Doing A Handbook for Professional Learning communities at Work. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in school. San Francisco, CA: Jossey Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-10