รูปแบบการเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม เชิงพุทธบูรณาการ
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ความสุข, เกษตรกรผู้เลี้ยงควายงามบทคัดย่อ
ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงามเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า สภาพการเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา ด้านร่างกาย มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านดูแลสุขภาพเบื้องต้น เป็นผู้ให้ความรู้แก่ประชาชน ด้านสังคมในชุมชนจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อส่งเสริมความรักสามัคคี ด้านจิตใจ วัดมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพจิตโดยตรง ด้วยการแนะนำให้คำปรึกษาหรือว่าสาธยายธรรมให้ฟัง มีรูปแบบการปฏิบัติธรรม กิจกรรมบำเพ็ญบุญวันสำคัญทางศาสนา หลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงามประกอบด้วยกายภาวนา ศีลภาวนา จิตภาวนา และปัญญาภาวนา เป็นแนวคิดหรือหลักปฏิบัติที่เชื่อมโยงวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีงามและถูกต้อง นำมาซึ่งประโยชน์สุขอันเป็น จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต รูปแบบการพัฒนาตามหลักภาวนา 4 สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงามสามารถนำมาบูรณาการกับรูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างความสุขของเกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม โดยเกษตรกรมีการพัฒนาร่างกายให้สัมพันธ์กับทางกายภาพ การรู้จักใช้อินทรีย์อย่างมีสติ เลือกที่จะดูเป็น ฟังเป็น กินด้วยปัญญา เสพปัจจัย 4 และสิ่งของเครื่องใช้อย่างฉลาด ไม่มัวเมาหรือลุ่มหลง จะส่งผลให้เกษตรกรมีสุขภาพแข็งแรง ส่วนศีลภาวนาเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมที่สามารถแสดงออกทางร่างกาย มีความสัมพันธ์เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม มีพฤติกรรมงดงามในความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านจิตใจ จิตตภาวนาคือการทำจิตให้เจริญงอกงาม ดีงาม เข้มแข็ง ให้เกษตรกรมีความสุข เบิกบาน ส่งเสริมให้มีการเจริญเมตตาและปฏิบัติสมาธิตามมา ทั้งการเจริญเมตตาและปฏิบัติสมาธิจะช่วยให้เกษตรกรมีจิตใจที่สงบมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญญาภาวนาคือการพัฒนาปัญญาสำหรับเกษตรกรจะเกิดได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยสองตัวคือปรโตโฆสะ ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก และโยนิโสมนสิการซึ่งเป็นปัจจัยภายใน ปัจจัยทั้งสองเชื่อมโยงสัมพันธ์ก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นปัญญาช่วยให้เกษตรกรเข้าใจความจริง และอยู่กับความจริงได้อย่างมีความสุข ได้รูปแบบ “บวร” (BVRF-Model): B= Boundary of Community (ชุมชน) V= Valuable Monastery (วัด) R= Regulated Services of Government (งานบริการทางหน่วยงานราชการ) F=Farmer (เกษตรกรผู้เลี้ยงควายงาม)
References
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2559, บทสรุปสำหรับผู้บริหารและข้อเสนอแนะ, จังหวัดนครปฐม: พริ้นเทอรี่ จำกัด 999 อาคารศูนย์การเรียนรู้ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561). (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). 13 ตุลาคม 2561.
วิไลวรรณ อาจาริยานนท์. (2553). การศึกษาความสอดคล้องระหว่างการเสริมสร้างสุขภาพทางเชิงพุทธ กับการเสริมสร้างสุขภาพของผู้มีอายุยืนในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สัมภาษณ์ พระศรีศาสนบัณฑิต, 25 กรกฎาคม 2566.
สัมภาษณ์ พระสิริชัยโสภณ, 25 กรกฎาคม 2566.
สัมภาษณ์ พระสิริชัยโสภณ, 25 กรกฎาคม 2566.
สัมภาษณ์ พิษณุ หลักกรด, 25 กรกฎาคม 2566.
สัมภาษณ์ รพีภัทร เอกพันธ์กูล, 21 กรกฎาคม 2566.
สัมภาษณ์ สมบัติ ทำละเอียด, 20 กรกฎาคม 2566.
องค์การอนามัยโลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว