คัมภีร์ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1, 2, 6 การแปลและการวิเคราะห์
คำสำคัญ:
คัมภีร์ปรมัตถโชติกะ, การแปล, การศึกษาพระอภิธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “คัมภีร์ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1, 2, 6 การแปลและการวิเคราะห์” มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1, 2, 6 ในด้านความหมาย ความเป็นมา ประวัติผู้แต่งและโครงสร้างเนื้อหาของคัมภีร์ 2) เพื่อแปลคัมภีร์จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์ปรมัตถโชติกะที่มีต่อการศึกษาอภิธรรมและคุณค่าสังคม งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า คัมภีร์ปรมัตถโชติกะ หมายความว่า คัมภีร์ผู้เป็นแสงสว่างรุ่งเรืองแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวง เนื้อหาของปรมัตถธรรม 4 คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์ อันเป็นเนื้อความทั้งหมดที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฏก ผู้รจนาคัมภีร์ปรมัตถโชติกะ คือ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ บูรพาจารย์แห่งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) หัวข้อปรมัตถธรรม 2) วจนัตถะและคำอธิบายโดยสังเขป 3) คำอธิบายปรมัตถธรรมโดยละเอียด และ 4) ปัญหาที่เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ผู้วิจัยแปลคัมภีร์ปรมัตถโชติกะจากต้นฉบับภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยรูปแบบการแปลใช้วิธีการแปลตามตัวอักษร (Literal Translation) เพื่อรักษาเนื้อความและสำนวนภาษาของคัมภีร์ไว้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาภาคภาษาอังกฤษ ให้เกิดความเข้าใจในปรมัตถธรรมรูปนามแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาควบคู่ไปกับการศึกษาพระอภิธรรมจะสามารถมีความเข้าในปรมัตถธรรม ถอดถอนความเข้าใจผิดในตัวตน จนก่อให้เกิดความสงบสุขกับตน และเป็นผลสะท้อนไปสู่สังคม ประเทศชาติ และ มวลมนุษยชาติในที่สุด
References
กลุ่มวิชฺชาวิมุตฺติปริเยสกสมิติ. ตามรอยพระสัทธัมมโชติกะ บูรพาจารย์แห่งพระอภิธรรม. บ. อมรโปรดักส์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร.
คณะกรรมการบริหารอภิธรรมบัณฑิต 56/2562. (2563). กุสลา ธัมมา. กรุงเทพมหานคร; หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย. (2561). บาลีวันละคำ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
ประชุม เรืองวารี. (2543). พระอภิธัมมาวตาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระคันธสารภิวงศ์. (2555). อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. กรุงเทพมหานคร; ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล และ จำรูญ ธรรมดา. (2557). ประตูสู่พระอภิธรรมเจ็ดคัมภี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2553). ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 1-2-6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ. (2563). พระอภิธรรมใครว่ายาก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2560). พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพระไตรปิฏกเพื่อประชาชน.
สัญฉวี สายบัว. (2525). หลักการแปล. กรุงเทพมหานคร; สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว