ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21, สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง (2) ศึกษาระดับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู (4) ศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ระดับมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการสื่อสาร ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ 2) ระดับสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยระดับสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครูที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการวิจัย และด้านการจัดการเรียนรู้ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21กับ สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยภาพรวมภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับสมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 4) ระดับภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านการสร้างความสัมพันธ์กับทีมงาน สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 84.00
References
จารุนันท์ ผิวผาง. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 39 มีนาคม-เมษายน 2564.
ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2562). สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาณุมาส ควรครู. (2560). การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ที่สัมพันธ์กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560.
ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 8 .กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์ข้าวฟ้าง จำกัด.
รัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
นฤมล คูหาแก้ว. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร ์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บุษยมาส ผาดี. (2563). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บุญรือ สังข์สม. (2566). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใสถานศึกษาของโรงเรียนนนทรีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารวิจัยรําไพพรรณี ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2566.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2561- 2580. กรุงเทพมหานคร.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตรกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565). กรุงเทพมหานคร.
สำนักงาน ก.ค.ศ. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่ง และวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2565). แผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.
สุชญา โกมลวานิช และคณะ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 23. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาคุณภาพการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ (วิทยาเขตหนองคาย) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อานนท์ ปลื้มเนตร และคณะ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. ครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
อิสริยา กลิ่นสุนทร. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21 ที่ส่งผลต่อการสร้างองค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อภิญญา พลอาสา. (2566). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน 2566.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). UNESCO ICT Competency Framework for Teachers Version 3.0, 2018. Published in 2018 by the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, 7, place de Fontenoy, 75352 Paris 07 SP, France.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว