ภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อมและสังคมเสี่ยง
คำสำคัญ:
ภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อม, สังคมเสี่ยงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบความหมายของคำว่า ภาวะวิกฤตสิ่งแวดลอมและสังคมเสี่ยง ซึ่งมิใช่เรื่องใหม่ หากแต่เป็นเรื่องที่มีอยู่ในสังคมตลอดมา เพียงแต่ผู้เขียนได้มีการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมให้ทันกับยุคสมัย เพราะว่าสภาวการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤต ได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง เมื่อนักการเมืองหรือบุคคลต่าง ๆ ในสังคมหวังจะกอบโกยผลประโยชน์เป็นของส่วนตัวมากขึ้น ส่วนประชาชนหรือบุคคลต่าง ๆ มีความลำบากยากเข็ญมากขึ้น จึงเกิดเป็นภาวะวิกฤติสิ่งแวดล้อมทางสังคม เมื่อประชากรในสังคมมีมากขึ้น ช่องทางโอกาสมีมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวก็มีมากขึ้นตามลำดับ สภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมรอบตัวจึงไม่มีใครเอาใจใส่ดูแล ทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมกลายเป็นสังคมเสี่ยง เป็นมลพิษสิ่งแวดล้อมทางสังคม สาเหตุที่แท้จริงของทุกปัญหานั้นมาจากเหตุเพียงสาเหตุเดียว คือ ความด้อยคุณภาพของประชากร ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะสร้างคุณภาพของประชากรในสังคมให้สูงขึ้น การนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาภาวะวิฤตสิ่งแวดล้อมและสังคมเสี่ยง โดยการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบองค์รวม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะด้านสังคมของบุคคล หรือการกระจายตัวและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมหรือลักษณะทางกรรมพันธุ์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสุขภาพอนามัย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตในปัจจุบันของประชาชน ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. (2557). การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.
จันทิรา ธนสวงนวงศ์. (2560). ชีวิตและวัฒนธรรมไทย, หน่วยที่ 10. แหล่งที่มา : http://e-learning. e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/unit010.html
ณัฐพล แย้มฉิม. (2560). ปัญหาสังคมไทยในสายตาคนไทย. บทความ. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. หนังสือพิมพ์มติชน, แหล่งที่มา : https://www.matichon.co.th/news/545551
ธนวรรณ จารุไพบูลย์. (2561). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติ (ครั้งที่ 8 : 2554 : พระนครศรีอยุธยา). (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่.
ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2561). พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อของลูกค้าและแนวโน้มของธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 ภายใต้การตลาดแบบความปกติถัดไป. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 3(2), 64-76.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. (2560). สุขภาพจิตคนไทย, แหล่งที่มา :http://www.jvkk.go.th/ jvkkfirst/story/general/37.htm.
สรัญญา พาณิชย์กุล. (2538). มองสังคมไทยในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ :เบี้ยฟ้า.
อุทุมพร เมืองนามา. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความเครียดของพนักงานธนาคาร สินเอเซีย จำกัด (มหาชน). ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว