แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วริศรา แก้วสุขศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ และ 2) หาแนวทางการขับเคลื่อนชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัญหาการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับปัญหาสูงที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ด้านภาวะผู้นำร่วมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีระดับปัญหาต่ำที่สุด คือ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนอยู่ในระดับน้อย
  2. แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์ พบว่า ควรดำเนินการในแต่ละด้านดังต่อไปนี้ 1) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม สถานศึกษาควรจัดประชุมผู้บริหารและครูในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ของการบริหารสถานศึกษา 2) ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ผู้บริหารและครูควรเปิดใจยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลให้เกียรติและเคารพในการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3) ด้านภาวะผู้นำร่วม ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูมีความเป็นผู้นำในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน 4) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ สถานศึกษาควรปรับปรุงอัตรากำลังการทำงานให้พอดีกับปริมาณงาน 5) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมที่แสดงถึงความรัก ความสามัคคีและการอยู่ร่วมกัน และ 6) ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ผู้บริหารควรกำหนดโครงสร้างการทำงานของครู ตามความถนัดและความสามารถในการทำงานร่วมกัน

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนาครูในการสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กัญญา โพธิวัฒน์. (2560). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา. สุรินทร์: สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

จารุวรรณ แดงมา. (2561). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของครูที่มีต่อการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้าง ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี. สุราษฎรธานี: วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี.

นภาจิตร ดุสดี. (2563). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านคลาวด์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(3): 163-172.

บำรุง ป้องนาทราย. (2564). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practices) โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพครู, 1(1): 45-60.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2561). ปัจจัยการพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยทีส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของทีมโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิวกร รัตติโชต. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพเพื่อการวิจัยในชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. (2564). การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพระดับโรงเรียนเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ของครู ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(1): 160-173.

สิรภพ บุญยืน. (2560). แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. อยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครสวรรค์. (2564). รายงานประจำปี 2564. นครสวรรค์: เทศบาลนครนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน กระบวนการ PLC “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

อมตา จงมีสุข. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1): 81-91.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement. Southwest Educational Development Laboratory, Taxas: Austin

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-10