การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลตาดควัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
คำสำคัญ:
การบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา, รูปแบบการบริหาร, การพัฒนาแหล่งเรียนรู้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนอนุบาลตาดควัน โดยวิธีวิจัยและพัฒนา ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยศึกษาแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง สภาพและความต้องการจำเป็นโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับภาคีเครือข่ายสถานศึกษา 16 คน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิต้นแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา 5 โรงเรียน 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 7 คน 3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบโดยสรุปผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน และ 4) ประเมินรูปแบบ ได้แก่ หลักการ เป้าหมาย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม และการสะท้อนคิด โดยภาคีเครือข่ายของโรงเรียน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสรุปข้อมูล แบบประเมิน และการประชุมสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารโรงเรียนร่วมพัฒนา ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้สำหรับใช้จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฝึกปฏิบัติทักษะอาชีพ เสริมสร้างสมรรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร 2) รูปแบบมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ เป้าหมาย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม 3) โรงเรียนมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ จำนวน 8 แหล่งเรียนรู้ ผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ได้แก่ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนด นักเรียนมีทักษะการฝึกปฏิบัติงานอาชีพ ได้แก่ อาชีพการเลี้ยงแพะ อาชีพการปลูกเมล่อน อาชีพการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์น้ำนิ่งและน้ำวน อาชีพการปลูกผักระบบน้ำอัตโนมัติ อาชีพการเย็บหมวก อาชีพการเล่นดนตรีไทย การตีกลองสะบัดชัย อาชีพการทำขนมและเบเกอรี่ และอาชีพนักธุรกิจน้อย โดยมีผลการประเมินการปฏิบัติทักษะอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 99.09 นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 98.36 และนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร ระดับดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 99.32 4) ผลการประเมินรูปแบบ ได้แก่ หลักการ เป้าหมาย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับจากสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการสะท้อนคิด คือ โรงเรียนควรสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนากับเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อระดมทรัพยากรมาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในด้านอื่น ๆ ของโรงเรียน และควรมีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
References
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตร มโนทัศน์ และการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โรงเรียนอนุบาลตาดควัน. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563. เชียงราย: โรงเรียนอนุบาลตาดควัน.
ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูง และถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(2), 93 8- 106.
สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เเนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สกศ.
Akos, P. (2020). Starting early : Career development in the early grades. Alexandria, VA.: Association for Career and Technical Education (ACTE).
Saduak, W., et al. (2019). School agricultural learning center for sustainable agricultural learning. Journal for the Education of Gifted Young Scientists. 7(3), 389 - 407.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว