ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 2) ศึกษาระดับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี และมอร์แกน จำนวน 335 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและเมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครู รองลงมา คือ ด้านการประเมินผลการสอนของครู ด้านการจัดโครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการประเมินผลนักเรียน และด้านแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตร
- การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและเมื่อเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา รองลงมา ด้านพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ด้านจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ด้านประเมินผลและตรวจสอบการจัดการศึกษา ด้านกำหนดมาตรฐานการศึกษา ด้านจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และด้านดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา
- ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง (rxy = .904) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตร ด้านการประเมินผลนักเรียน ด้านการจัดโครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้านการประเมินผลการสอนของครู ด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพครู รวมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 82.70 สร้างสมการพยากรณในรูปคะแนนดิบ คือ Y´ = .909 + .176X1 + .114X2 + .111X3 + .177X4 + .322X5 และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z´ Y´ = .195X1 + .134 X2 + .140 X3 + .202 X4 + .345 X5
References
ข้าวทิพย์ ทีสุกะ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการดำเนินการ ประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จรูญกลิ่น มาตาชาติ. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศราวุฒิ ทองอากาศ. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษาจังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2565. กลุ่มนโยบายและแผน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ.
Robbins, S.P., & Coulter, M. (2003). Management (7th ed.). NJ: Pearson Education.
Seyfarth, J.T. (1999). The principal: New leadership for new challenges. New Jersey: Prentice- Hall, Inc.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper. & Row.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว