แนวทางพัฒนาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนา, การบริหารภาคีเครือข่าย, สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีการดำเนินงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการประสานงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการติดตามประเมินผล และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยรายการปฏิบัติ 27 รายการ โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ (1) การวางแผน ประกอบด้วย 6 แนวทาง เช่น สถานศึกษาต้องจัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากร มีการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามหลักสูตร (2) การจัดองค์การ ประกอบด้วย 4 แนวทาง เช่น สถานศึกษาต้องดำเนินการในการวิเคราะห์และกำหนดบทบาทของภาคีเครือข่ายที่มีบทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดการศึกษา (3) การจัดบทบาทหน้าที่ ประกอบด้วย 6 แนวทาง เช่น สถานศึกษาต้องจัดให้มีหลักสูตรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากร มีการประสานภาคีเครือข่ายเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรตามหลักสูตร (4) การประสานงานประกอบด้วย 5 แนวทาง เช่น สถานศึกษาต้องมีการวางแผนการดำเนินงาน การกำหนดโครงการร่วมกับภาคีเครือข่าย ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีการสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาตามสภาพและบริบทของภาคีเครือข่าย (5) การติดตามประเมินผล ประกอบด้วย 6 แนวทาง เช่น สถานศึกษาต้องจัดประชุมชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล
References
กษมา โรจนนิล ยุกตะทัต. (2556). ยุทธศาสตร์การส่งเสริมเครือข่ายให้มีส่วนร่วมจัดการศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัด ในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 9(3), 7-15.
ชัยเดช ใจกัน (2565). แนวทางการบริหารเครือข่ายศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดน อุตรดิตถ์. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(5), 42.
วนิดา หรีกประโคน. (2563). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและ การศึกษา ตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิจิตราภรณ์ โตแก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สัมมนาการ บุญเรือง. (2562). แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล.สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
สุดารัตน์ เผ่ามงคล. (2559). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภัทรชัย รินสาย. (2564). การบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2563). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2562 กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อุดม เชยกีวงศ์. (2551). การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แสงดาวจำกัด.
Luther Gulick and Lyndal Urwick. (1937). แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563 จาก https://adisony.blogspot.com
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว