แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, การจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาจัดการเรียนรู้ของครู วิธีการดำเนินงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิด มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.975 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) เสนอแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านวิสัยทัศน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความไว้วางใจ และ 2) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารเพื่อพัฒนาจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน 26 แนวทาง ดังนี้ (1) ด้านวิสัยทัศน์ มี 6 แนวทาง เช่น ผู้บริหารจัดอบรมให้ครูมีความรู้เรื่องการวัดผลประเมินผลผู้เรียนอย่างเป็นระบบ (2) ด้านการมีจินตนาการ มี 5 แนวทาง เช่น ผู้บริหารอำนวยความสะดวก ส่งเสริมและสนับสนุน จัดหาสื่อและเทคโนโลยี (3) ด้านการมีความยืดหยุ่น มี 5 แนวทาง เช่น ผู้บริหารสื่อสารนโยบายเกี่ยวกับการวัดผลต้นสังกัดให้คุณครู (4) ด้านความไว้วางใจ มี 5 แนวทาง เช่น ผู้บริหารนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร (5) ด้านการแก้ปัญหา มี 5 แนวทาง เช่น ผู้บริหารให้ครูรู้และเข้าใจขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
References
กาญจนา ศิลา. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตบางเขน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.
กิตติกาญจน์ ปฏิพันธ์ (2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรค่าสำหรับทุกคนในอนาคต. ขอนแก่น : ผู้แต่ง
บุญช่วย สายราม. (2557). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่. มหาสารคาม : ภาควิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดปทุมธานี. ปทุมธานี : ผู้แต่ง.
ภรณ์ทิพย์ ปั้นก้อง. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริกมล อินทรสุข. (2559). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มพัฒนาที่ 5 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 . กรุงเทพ ฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
Krejcie, R. V., & Morgan, D., W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30 (3), pp.608-609.
Cronbach, L. (1990). Essentials of psychological testing testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว