กลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • อัครพนธ์ นวนจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นันทิยา น้อยจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารงานแนะแนว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เพื่อกำหนดกลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนวัดราชาธิวาส จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพปัจจุบันเท่ากับ .986 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ .976 ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PNImodified  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหาร                 งานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึ่งประสงค์ของการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลยุทธ์การบริหารงานแนะแนวโรงเรียนวัดราชาธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์รอง และ 9 วิธีดำเนินการ กลยุทธ์หลักที่ 1 คือ ยกระดับการจัดบริการแนะแนวอย่างมีคุณภาพ กลยุทธ์รองที่ 1.1) สร้างเสริมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสู่การเป็นมืออาชีพ กลยุทธ์รองที่ 1.2) สร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างมีคุณภาพ กลยุทธ์หลักที่ 2 ส่งเสริมพัฒนากระบวนการสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์รองที่ 2.1) จัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์รองที่ 2.2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2561 - 2565) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2565) สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย)

เกศรา น้องคนึง. (2560). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนวโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนนท ธัญพงศ์ไพบูลย์. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย. ตามหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และ สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยและประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

สุทัศน์ เดชกุญชร. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการงานแนะแนวการศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี. หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อันติมา ยัพราษฎร์ (2559). กลยุทธ์การนิเทศครูแนะแนวโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.

Miller, C.H. (1976). Foundations of Guidance. New York: Harper & Row Publisher lnc.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests.

Psychometrika, 16, 297 – 334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30