การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามมาตรการสร้างภูมิคุ้มกัน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามมาตรการสร้างภูมิคุ้มกัน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยขอบเขตด้านตัวแปร ซึ่งได้การมีส่วนร่วมในงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการมีส่วนร่วมวางแผน 2)ด้านการมีส่วนร่วมดำเนินงาน 3)ด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล และ 4)ด้านการมีส่วนร่วมรับประโยชน์ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 45 คน ครูผู้รับผิดชอบงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 45 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้ข้อมูลประชากรทั้งหมดเป็นผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.924 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมในงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามมาตรการสร้างภูมิคุ้มกัน ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมรับประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นลำดับแรก ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมวางแผน ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล และอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
References
กรวิทย์ เกาะกลาง, วินิจ ผาเจริญ และวัชระ ชาติมนตรี. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(1),1-11.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ประจำปี 2565. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
กุสุมา สว่างพันธ์. (2558). ภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสารเสพติดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตตำบลดอนสมบูรณ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกียรติศักดิ์ สุทธหลวง. (2560) .การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมด้านวิชาการโรงเรียนดีประจำตำบล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา : กลยุทธและแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
จักรพงศ์ แถลงกัณฑ์. (2565). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนสันติวิทยาสรรพ์.วารสารครุศาสตร์ปัญญา. 1(5) : 15 - 27.
นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา, ปิย สุดิสุสดี, โนรีณี เบ็ญจวงศ์, ณพัฐธิกา ปิติเลิศศิริกุล. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนกลุ่มเขื่อนบางลาง สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40).
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอินถา ศิริวรรณ. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 4(1) : 176 - 187.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว