ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา, การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับการจัดการเรียนการรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 และ4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565 กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่ และ มอร์แกน จำนวน 269 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความยืดหยุ่น ด้านวิสัยทัศน์ ด้านจินตนาการ และด้านการแก้ปัญหา ตามลำดับ
2) การจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาหลักสูตร ตามลำดับ
3) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3 ด้าน คือ ด้านความยืดหยุ่น ด้านวิสัยทัศน์ และด้านการแก้ปัญหา ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 65.30 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z'Y = .390Z4 + .281Z2 + .219Z1
References
จันทร์ธิมา รัตนโกสุม. (2561). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถม สังกัดสำนักงานแผนกศึกษาธิการและกีฬา. นครไกสอนพมวิหาร แขวงสะหวันนะเขตสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
จุฑามาส ซุ่นห้วน. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2560). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (Online). เข้าถึงได้จาก http://www.nidtep.go.th/webnidtep2015/index.php/2015-04-29 02-17-33/2015-04-29-02-36-50. (2566, ตุลาคม 7).
ชนภรณ์ อือตระกูล. (2560). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของหัวหน้ากล่มสาระ การเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาสวรรค์ วงศ์มีชัย. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ ของวิทยาลัยเทคนิคในเขตภาคใต้ สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. เขตพื้นที่การ
ศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.
ธงชาติ ภู่สุวรรณ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปณิธิ เจริญรักษ์. (2563). แนวทางพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโดยผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ปนัดดา พลแสน และคณะ. (2561). บทบาทส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรธ., 15(28), หน้า172 – 183.
พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร...ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2), 23-35.
พระมหามงคล สารินทร์, อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์ และสมชาย เทพแสง. (2558). โดยภาควิชาบริหารการศึกษาศาสตร คณะศึกษาศาสตร มศว. ศึกษาวิสัยทัศน์ที่สามารถพยากรณ์การบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรมของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 19 (36).
ภราดร มาซานนท์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงสรางสรรค์กับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาสกร เรืองรอง, ประหยัด จิระวงพงศ์, วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช และ ชไมพร ศรีสุราช. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5 (พิเศษ) : หน้า 195 – 207.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 8. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ละอองดาว เชาว์ชอบ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์
ศกรณมนทร์ นิธร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการของครู สังกัดเทศบาลจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ คม, มหาวิทยลัยราชภัฏนครปฐม.
ศศิธร พงษ์โภคา. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด.วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ ภาควิชา หลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมจิตร ชูศรีวาส. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสนักำงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ร้อยเอ็ด.
สมชาย รุ่งเรือง. (2560). รูปแบบการพัฒนาผู้นําสู่การสร้างแรงผลักดันเชิงสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจิตตรา มูลอินทร์ และปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2565). คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. วรสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 14(12). หน้า 79-94.
สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century. Learning). The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุริยาพร นพกรเศรษฐกุล. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียง. เศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
หทัย ชำนาญค้า. (2565). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
หทัยรัตน์ วิโย และ วันทนา อมตาริยกุล. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว