ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ในปีการศึกษา 2566 ได้จากการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จากตารางเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 313 คน ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยเทียบสัดส่วนของประชากรกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดจากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 พบว่า
2.1 ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามเพศโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามอายุโดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2.4 ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานโดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความเสมอภาคระหว่างเพศ. กรุงเทพฯ : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลเพื่อการศึกษา (พ.ศ.2566 - 2570). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ
จีระศักดิ์ ชุมภู. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย จังหวัดเชียงราย. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย พะเยา.
เจนจิรา จุ้ยประโคน. (2566). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 3 (2) : 397 - 412.
นิสา แป้นเชียร. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21 (1) : 135 - 151.
ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชต์วดี สัจธรรมธนพิธ. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 17 (2) : 177 - 186.
สุเหด หมัดอะดัม. (2562). ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของคครูโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 20 (1) : 1905 - 1915.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (2565). แผนพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 - 2570. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวาน กราฟฟิค.
อภิวิชญ์ สนลอย. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5 (1) : 89 - 100.
อมรรัตน์ สุริยะบุญ. (2566). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 14 (1) : 60 - 70.
Best W. John. (1997). Research in Education. Boston MA : Allyn and Bacon.
Cronbach, L. J. (1990) Essentials of psychological testing. 5th ed. New York : Harper Collins. Publishers.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psy Chological Measurement.
Likert, R. (1962). New Pattern of Management. New York: Mcgraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว