การนับถือสิ่งเคารพของคนไทยตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ ต่ายลีลาศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การนับถือ, สิ่งเคารพ, คนไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนับถือสิ่งเคารพของคนไทยในปัจจุบัน การศึกษาพบว่าการการนับถือสิ่งเคารพ ประกอบด้วยสองส่วน คือ (1) สิ่งเคารพของคนไทย และ(2) ผลกระทบจากสิ่งเคารพของคนไทย ลักษณะสังคมของประเทศไทยมีอิสรภาพทางการแสดงออกทางความคิดรวมถึงอิสระความเชื่อในการนับถือ ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบจากการนับถือสิ่งเคารพมากมายตามลำดับ ดังนี้ 1)ลักษณะของสิ่งเคารพในไทย, 2)รูปแบบการถือสิ่งเคารพ และ3)ปัจจัยของการถือสิ่งเคารพ ดังนั้น การนับถือสิ่งเคารพของคนไทยในปัจจุบันนั้นควรมีการทำความเข้าใจในการนับถือสิ่งเคารพต่างๆนั้นให้มีความเหมาะสมถูกต้องตามหลักพุทธธรรม 4 ประการ คือ 1)มังคละสูตร 2)จูฬกัมมวิภังคสูตร 3)หลักบูชา 2 และ4)ไตรสิกขา 3 นี้ สามารถสร้างลักษณะการนับถือให้มีปัญญาสามารถนับถือสิ่งเคารพให้ถูกต้องนั้น แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ 1) บุคคลและวัตถุที่ควรค่าแก่การถือเคารพ และ2) ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากนับถือสิ่งเคารพ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เพื่อให้การนับถือสิ่งเคารพของคนไทยไม่เกิดขึ้นในลักษณะงมงาย รวมถึงยังสามารถปรับใช้การนับถือดังกล่าวให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง และสังคมอย่างสูงสุดต่อไป

References

พระไตรปิฎก กรมศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์การศาสนา.เล่มที่ 9.

ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต. “สยามเมืองยิ้ม จากการปั้นแต่ง ไม่ได้เกิดจากความจริงใจ” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (1 กรกฎาคม 2565). 2.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), “พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม”, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด), 2561, หน้า 189.

ราชบัณฑิตยสถาน, “พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554”, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์), 2554, หน้า 986.

ศรีศักร วัลลิโภดม และศรีนาถ สุริยะ, “สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 16 เรื่องที่ 5 สังคมและวัฒนธรรมไทย”, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร), 2534, หน้า 96.

Credit Suisse Research Institute, “Global wealth databook 2021”, (Bangkok : Credit Suisse Research Institute), 2021, Page 9.

Needham, Joseph Ho and Ping-Yü, “Clerks and Craftsmen in China and the West: lectures and addresses on the history of science and technology”, (England : Cambridge University Press), 1970, Page 316–339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-21