แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษา 2) รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และ 3) ครูในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 210 คน ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีความรู้ความสามารถด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ข้อทักษะด้านวิสัยทัศน์ รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านการวางแผนกลยุทธ์ ทักษะด้านการจัดการเรียนการสอน ทักษะด้านจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา และทักษะด้านบริหารการศึกษา ตามลำดับ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 มี 5 ด้าน ดังนี้ 1) ทักษะการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารควรมีการวางแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและปรับแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด 2) ทักษะด้านวิสัยทัศน์ ผู้บริหารควรมีแนวคิดในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน 3) ทักษะด้านการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารต้องบูรณาการในการออกแบบหลักสูตรและกลยุทธ์การเรียนการสอน 4) ทักษะด้านบริหารการศึกษา ผู้บริหารต้องพัฒนาทักษะด้านบริหารการศึกษาอยู่เสมอเพราะการบริหารในการทำงานในองค์กร สิ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำงาน และ 5) ทักษะด้านจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา ผู้บริหารต้องมีทักษะด้านจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษาเป็นแบบอย่างในการใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการดําเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณกระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปแหงการปฏิรูปการเรียนการสอน”. กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐาน.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
กฤติมา มะโนพรม และคณะ. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 16, 2566, จาก http://ojslib3.buu.in.th/index.php/education2/issue/view/873
จารุวรรณ นูสา และสิทธิชัย สอนสุภี. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 12, 2566, จากhttps://ap.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/22nd-ngrc-2021/HMP14/HMP14
ฐิริญญา พรมหมศร. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 14, 2566, จาก http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/2333/1/81424_918660_706127
ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.
สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2566, จากhttps://mis.krirk.ac.th/librarytext/ED/2565/F_Thanyamas_Daengseeda.pdf
นนทกร อรุณโน. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 17. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 13, 2566, จาก
https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid =246&group=20
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
ประภา อัครพงศ์พันธุ์. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มิตรภาพ.
ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566, จาก
https://office2021.ksed.go.th.
ราชกิจจานุเบกษา. (2548). พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566,
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566, จาก https://www.ksp.or.th.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 19, 2566, จาก https://www.ksp.or.th.
ราชกิจจานุเบกษา. (2558). พระราชบัญญัติ โรคติดต่อ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 4, 2566, จาก https://ddc.moph.go.th.
วิมลพรรณ ช่างคิด. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยใสนภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพรรณี.
ศิรประภา เพ็งศิริ. (2556). ทฤษฎีระบบการจัดการ. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปสังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2563 – 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 18, 2566, จาก https://www.chiangmaiarea1.go.th. /2020/oit-o4-strategic-plan/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570). กรุงเทพฯ : สำนัก.
สิริรักษ์ นักดนตรี. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 16, 2566, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/60110/1/5883855027
อัญชลี โพธิ์ทอง. (2555). การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
อำนวย ทองโปร่ง. (2556). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาrการพิมพ์และสติวดิโอ.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research Llana Fried Tischler. (2004). How Does Leadership Transition Influence a Sustained School Change?: A Case Study. Dissertation Abstracts International 65. 7, 781-A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว