ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ

ผู้แต่ง

  • สกาวรัตน์ เมืองจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา, การนิเทศภายในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ 2) เพื่อศึกษาระดับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์โดยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น    รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล การทำงานร่วมกัน การสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล และความเข้าใจในความรู้ และทักษะดิจิทัล 2) การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงไปหาต่ำ ได้แก่ การวางแผนและกำหนดทางเลือก การปฏิบัติการนิเทศภายใน การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ การขยายผลต่อยอด และยกยองเชิดชู และการประเมินผลการนิเทศ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงเท่ากับ .589 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. แนวทางการปฏิรูปการศึกษา. เอกสารอัดสำเนา.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นําทางเทคโนโลยีการนําเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษาหลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มิตรสยาม.

ทินกร บัวชู, ทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์สาร: Journal of Educational Studies.

เอกรัตน์ เชื้อวังคํา, วัลลภา อารีรัตน์. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 22. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุจรรยา ขาวสกุล. (2564). การพัฒนาดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.

Elliott,T.(2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework for Transformation. http://www.digitalistmag.com/author/telliott.

Zhu, P. (2016). Five Key Elements in Digital Leadership. http:// futureofcio.blogspot.com/ 2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html.

International Society for Technology in Education (2018). ISTE STANDARDSFOREDUCATION LEADERS. https://www.iste.org/standards/foreducationleaders.

Juan Narbona. (2016). Digital leadership. Twitter and Pope Francis. CHURCH, COMMUNICATION AND CULTURE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-10