แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษา จำนวน 351 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูวิชาการ จำนวน 3 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการนิเทศการศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการประเมินผลการศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ และด้านการพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยียุคฐานวิถีชีวิตใหม่
- แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง คือ การจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ การประเมินผลการศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่ การพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยียุคฐานวิถีชีวิตใหม่ การนิเทศการศึกษายุคฐานวิถีชีวิตใหม่
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัลย์ฐิตา แท้เรือง. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ปกติใหม่ (New Normal)ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน. การศึกษาอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชุติกาญจน์ หลวงแสน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ทิพยาภา คมขำ. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนัฏฐา คุณสุข. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ธีระรัตน์ คันธิวงศ์. (2560). การศึกษาการบริหารงานการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูวิชาการในสถานศึกษา สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
นันทวัน พลูกำลัง. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 ในยุคนิวนอร์มัล. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 8 (3), 119-129.
นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์สาขาวิชาพุทธ การบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการสถิติสำหรับวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์ ซัพพลาย.
พัชรมัย อินอ่อน. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในสถานศึกษาโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4 (3), 783-795.
วีรภัทร ภักดีพงษ์. (2565, กรกฎาคม-สิงหาคม). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร. วารสารวิจัยวิชาการ, 5 (4), 246-247.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. (2564). รายงานการนิเทศเพื่อส่งเสริมความสามารถของครูในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. กาญจนบุรี: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. (2563). คู่มือการปฏิบัติงาน กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา. พิษณุโลก: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2565). คู่มือการบริหารงานวิชาการ. สมุทรปราการ: กลุ่มบริหารงานวิชาการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2564). แผนพัฒนาปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2565. ชลบุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขต ฯ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2566, 11 กรกฎาคม). หนังสือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. เรื่อง ข้อมูลจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี ระยอง ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566.
สินีนาฎ นาสีแสน และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2565, ตุลาคม-ธันวาคม). สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12 (4), 1-15.
สุชาติ หูทิพย์. (2566, มกราคม–เมษายน). กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงนวัตกรรม. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11 (1), 95-103.
เสรี ออไธสง และเพียงแข ภูผายาง. (2565, มกราคม-มีนาคม). ภาวะผู้นำเชิงสร้างวรรค์กับการบริหารสถานศึกษาในภาวะปกติใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16 (1), 8-15.
อมรรัตน์ เตชะนอก. (2565, มกราคม-เมษายน). การบริหารงานวิชาการเชิงพุทธ สู่ความเป็นเลิศ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7 (1), 930-939
อรวรรณ โล่ห์คำ. (2565, มกราคม-มิถุนายน). การนิเทศภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอน ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 8 (1), 187-202
อัครวิชช์ เชิญทอง. (2564). การศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing). New York: Harper Collins.
Krejcie, R.V., & D.W.Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3) 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว