ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
คำสำคัญ:
ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21, การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2) ระดับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ (4) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 351 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า
- ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- ทักษะการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านการบริหารองค์การ ทักษะการสื่อสารที่ทันสมัย และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 79.80 และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานได้ คือ = .292Z1 + .309Z5 + .223Z4 + .162Z2 + .099Z3
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). การคิดเชิงวิเคราะห์ พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ซัคเซส.
จอมขวัญ สุทธินนท์. (2564). ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills) พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
จิรประภา อัครบวร. (2566). การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์:เพื่อการพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรกนกการพิมพ์.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ฐนพร จันทร์มั่น, ธีรวุธ ธาดาตันติโชค และณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2564). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22 (2), หน้า 205-218.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2563). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ปัทมพร พงษ์เพชร. (2561). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123ก., หน้า 16-21.
พิกุล นามฮุง. (2565). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 1 (2), หน้า 30-43.
พิศุทธิ์ศักดิ์ กุลสาร และศันสนีย์ จะสุวรรณ์. (2564). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มทวาราวดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8 (2), หน้า 240-253.
ภูมิชัย พลศักดิ์. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15 (29), หน้า 67-79.
โมลี เขียวสะอาด. (2566). การสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 9 (2), หน้า 359-375.
วิไลวรรณ พ่อค้าช้างและรัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 6 (5), หน้า 14-28.
วิวรรชน์ เชื้อจิตร. (2566). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10 (5), หน้า 11-21.
สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2565). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. ชลบุรี: กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินและการจัดการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561, 8 ตุลาคม). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2580). เรื่อง สถานการณ์ แนวโน้ม วิสัยทัศน์ และเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2566). ประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คำนำ.
อาเฟียต สัตยดำรง. (2565). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Best, J., & Kahn, J.V. (2016). Research in Education (10e). Delhi, Pearson India.
Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). Harper & Row, New York, Publishers.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), pp. 607-610.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading. Attitude Theory and Measurement. 4th ed, New York, Me Graw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว