การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารเชิงกลยุทธ์, โรงเรียนกลุ่มบูรพาศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 14 โรงเรียน
รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 42 คน โดย โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ตามแนวคิดของ เดวิด และคณะ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ด้านการประเมินกลยุทธ์
ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ตามลำดับ 2) แนวทางในการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนในกลุ่มบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญในกระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ควรมีการเลือกกลยุทธ์เฉพาะเจาะจงที่จะดำเนินการ กำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว สร้างกลยุทธ์ทางเลือก นำข้อมูลไปกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน และมีการสื่อสารให้บุคลากรเข้าใจเป้าหมายของกลยุทธ์ร่วมกัน 2) ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ควรมีการจัดทำแผนงานตามปฏิทินการปฏิบัติงาน กำหนดรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร และมีการสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร 3) การประเมินกลยุทธ์ ควรมีการประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อวิเคราะห์ทบทวนกลยุทธ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จและนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงแผนการดำเนินงานของโรงเรียน
References
ปณิธี การสมดี. (2564). ภาวะผู้นำภาครัฐในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
ชลธิชา ร่มโพธิ์ศรี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภิรญา ขัตติยะ. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนวัดวังน้ำขาว. (การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาการบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สกุนตลา รัตนไพบูลย์วัฒนา. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงวน อินทร์รักษ์. ศาสตร์และศิลป์ทางการบริการการศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
สุปรียา ชินพะวอ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Best, John W. (1970). Research in Education. (2nd ed). Englewood cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
David, Fred R., Forest David, and Meredith E. David. (2023). Strategic Management concepts and cases. (17th ed). New Yok: Pearson.
Dess, Gregory G., and others. (2021). Strategic Management creating competitive advantages. (10th ed). New York: McGraw-Hill.
Likert, Rensis. (2022). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill Book Company.
Wheelen, Thomas L., and others. (2018). Strategic Management and Business Policy. (15th ed). New Yok: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว