ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปัทมวรรณ โชติกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร, คุณภาพชีวิตในการทำงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำนวน 59 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งจำนวน 1 คน และข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มสาระฯ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 118 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น(Opinionnaire) เกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมตามแนวคิดของ ยูกล์ (YukI) และคุณภาพชีวิตการทำงานตามแนวคิดของ วอลตัน (Walton) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เมื่อพิจารณาภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก และพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านความเป็นธรรมและความยุติธรรม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ความก้าวหน้าส่วนบุคคล ความเห็นอกเห็นใจและการเยียวยาสภาพจิตใจ ความอ่อนน้อมถ่อมตน การเสริมสร้างพลังอำนาจ และความซื่อสัตย์ 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ การยอมรับทางสังคมในองค์การ โอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้ามั่นคงในหน้าที่การงาน โอกาสในการใช้ความรู้ ความสามารถในการพัฒนางาน      การกำหนดระเบียบ ข้อบังคับ ความเป็นสิทธิส่วนบุคคลในองค์การ บทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม สภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัย ค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม และความสมดุลอันเหมาะสมระหว่างเวลาของหน้าที่การงานและเวลาส่วนบุคคล 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน

References

กำชัย เสนากิจ. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 26. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เกวลี ตระกูลสุขทรัพย์. (2564). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

จตุพงษ์ สอนศรี. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานบุคลากร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

คณาวุฒิ กังวาลเนาวรัตน์. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135

ภัทริกานต์ บุญฤทธิ์. (2566). ปัจจัยบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา สตูล. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วันเฉลิม รูปสูง. (2564). ภาวะผู้นําเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทํางานของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศรษฐ์ คุณทาบุตร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน Quality of Working Life. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566. จาก https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานวิจัยผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการจัดการศึกษาไทยใน 5 ปี ข้างหน้า. นนทบุรี: ออฟเซ็ท เพรส.

สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา. 8(2): 1.

Cronbach, Lee J. (1984). Essentials of Psychological Testing. (4th ed). New York: Harper and Row Publisher.

John, W. Best. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Likert, Rensis. (1992). New Pattern of Management. New York McGraw – Hill Book Company.

Robert V. Krejcie and Daryle w. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Educational and Psychological Measurement No.3: 608.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-07