รูปแบบความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา, หลักพุทธธรรม, พลเมืองดิจิทัลบทคัดย่อ
บทความนี้จะนำเสนอการบูรณาการดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา 3) เพื่อเสนอรูปแบบความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาหรือครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 397 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิโดยเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน การสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการจำเป็นของความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่น ด้านการให้การศึกษาตนเองและผู้อื่น และด้านการเคารพตนเองและผู้อื่น ตามลำดับ
2.การพัฒนารูปแบบความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร แจงแบบสอบถาม สัมภาษณ์ นำมาสนทนากลุ่ม ผลจากการประเมิน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ ตามลำดับ
3.รูปแบบความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) หลักการ กล่าวถึงความสำคัญของความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาและหลักสัปปุริสัจธรรม 7 ในการนำไปใช้ในโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ 2) วัตถุประสงค์ ให้ความสำคัญกับบุคลากรในการปฏิบัติงาน 3) กระบวนการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรม ที่นำเสนอแนวทางการบริหารตามองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลมาบูรณาการกับสัปปุริสัจธรรม 7 และจากการศึกษาได้เกิดองค์ความรู้ที่เป็นรูปแบบเชิงภาษา คือ PERS MODEL ที่จะเป็นประโยชน์ในการบริหารหารสถานศึกษาต่อไป
References
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 54ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ออกตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65
ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตาม บทบัญญัติมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570).
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษกิจดิจิทัล
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digiral Leadership. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปอส ไกรวิญญ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือความเป็นพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ภัทรา จรรยาธรรม. (2564). การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.
มลวิภา สิขเรศ. (2559). การบริหารสถานศึกษาเชิงพุทธบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา. พุทธศาสตรดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ภัทรา จรรยาธรรม. (2564) การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว