ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, การพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาจังหวัดนนทบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตาม วิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา 3. ศึกษาความต้องจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง .60-1.00 และค่าความเที่ยง .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครู ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากขึ้นไป 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศตวรรษที่ 21 ให้ครู โดยใช้ดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified) พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็น 1.ด้านหลักสูตรและการสอน 2.ด้านการสอน 3.ด้านการทำความเข้าใจ ICT ทางการศึกษา 4.สรรมถนะครูด้านการเรียนรู้อย่างมืออาชีพของครู 5.สรรมถนะด้านการประยุกต์ใช้ทักษะดิจิทัลของครู 6.สมรรถนะด้านองค์กรและการบริหารองค์กร ตามลำดับ
References
ชัยวิชญ์ เข็มปัญญา. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยนครพนม.
ณัฐพล รำไพ, ณรงค์ สมพงษ์, นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, กิตติศักดิ์ แป้นงาม. (2560). รูปแบบการพัฒนาทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูเพื่อสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ธนกฤต อั้งน้อย. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(2).
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์, สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์, นันทกานต์ วุฒิศิลป์,สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(2).
เพชรรัตน์ วงค์คำ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(44), 2566.
ยุภารัตน์ อภัยพันธ์. (2566). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 12(1).
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสตร์. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดี มั่นคง การพิมพ์.
ลัดดาวัลย์ สอิ้งทอง. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต), สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ศุภภัทรวริศรา เกตุสุนทร และฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2021). การศึกษาในยุค Disruptive Technology.วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5(3), 2564.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีการศึกษา 2565. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.
สำนักเลขาธิการคุรุสภา. (2564). คูมืองานการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.
อมรรัตน์ ดอนพิลา. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Atef, A. (2011). ICT Training Courses for Teacher Professional Development in Jordan. Turkish Online Journal of Educational Technology-TOJET. 10(4): 195-210.
Giles, Sunnie. (2018). How VUCA Is Reshaping The Business Environment, And What It Means For Innovation. Accessed online on 16 October 2023, from https://www. forbes.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว