สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ปัทมา บุญยวรรณ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา นนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานนทบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานนทบุรี ตามความคิดเห็นของครู เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 323 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD

ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงมาหาต่ำคือ การพัฒนาวิชาชีพ รองลงมาคือหลักสูตร การสอน การวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ การบริหารสถานศึกษา คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษา และกิจกรรมนักเรียน ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุ และ ระดับการศึกษา พบว่าเมื่อจำแนกไม่แตกต่างกัน

References

กนกพร ถาวรประเสริฐ. (2562). สมรรถนะรองผู้อำนวยการฝ่ายงบประมาณของโรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรกต ขาวสะอาด. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. (2556). ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564,จาก: http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/130/65.PDF.

ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ ค.ม.), มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

เทื้อน ทองแก้ว. (2559). สมรรถนะ (Competency) หลักการและแนวปฏิบัติ. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564, จาก :www.competency.mju.ac.th/doc/22141.doc.

นที กอบการนา และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดส าเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 3(2), 47.

บวร เทศารินทร์. (2560). ผู้บริหารโรงเรียน 4.0 พลังขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2564, จาก : http://drborworn.com/articledetail.asp?id=20137.

นิธิ เรืองสุขอุดม. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัทมาภรณ์ ไหมแก้ว. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ. (1), 43.

ปีนณ์ฬยาข์ ฒิตสุนทรโรทยาน และธนพล โอบอ้อม. (2557). สมรรถนะผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

พัฐณสิญ นวโลจิตรัตน์. (2560). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคกลาง. (พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต), สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิชาพัชญ์ โหนา. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศไทย 4. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภัคจิรา ผาทอง.(2563). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ยุพเรศ สุวรรณะ. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. (การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและ เทคนิคการใช้ SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วาสนา เต่าพาลี. ( 2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับปัจจัยแรงจูงใจการทำผลงานทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิมลรัตน์ ศรีสำอางค์. (2558). สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. (2), 80-89.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 6(1), 7-11.

ศรายุทธ เมืองคำ. (2563). ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งผู้บริหารสานศึกษา. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2564 จาก: https://otepc.go.th/ images/ 00_YEAR2564/03_PV1/2Mv10-2564.pdf.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพ สำนักงานการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต), การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุบิน ไชยยะ. (2560). การศึกษาสมรรถนะการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดในเขตภาคเหนือตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(2), 204-219.

สุทธิเทพ ช่อปทุมศิริกุล. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาใน โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

หทัยพัชร ทองเดช. (2560). การศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสหวิทยาเขตบูรพา สระบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (สารนิพนธ์ตามหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

Boyatizis, R.E. (1982). The Competent Manager. New York: McGraw-Hill.

Bass. (1985). Organization culture and leadership. San Francisco: Calif Jossey-Bass.

Coleman, D. and Adam, R.C. (1997). Establising Construct Validity and Reliability forthe NAESP Professional Development Inventory. Journal of Personal, 10(3), 194-200.

Costley, D.L. (2004). Understanding Behaviors for Effective Leadership. New Jersey: Prentice – Hall.

Davies, B., and Ellison, L. (1997). School Leadership for the 21st Century. London: Rutledge.

Daresh,J.C. and Playko, M.A. (1992). The Professional Development: Mechanism for Development. London: Falmer Press.

Hamlin, B. (1990). The Competent Manager in Secondary School. Educational Management and Administration. 18(3), 5.

Jame E. Aitken, Core Competencies for School Principal. Available from http// www.ero.govt.nz/Publications.htm.

Kennedy, P. and Dresser, G. (2005). Creating a Competency-Based Workplace. Benefits and Compensation Digest. 42(2), 19–23.

Knowles, A. (1970). Handbook of College and University Administration. New York: McGraw – Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-07