ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา
ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารเชิงดิจิทัล รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพ ด้านการสร้างวิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล และด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล
2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ครูที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 โดยครูที่มีประสบการณ์ มากกว่า 10 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ 5-10 ปี และน้อยกว่า 5 ปี ตามลำดับ
References
American Library Association. (2012). Digital literacy, libraries, and public policy: Report of the Office for Information Technology Policy's Digital Literacy Task Force. Accessed online on. October, 26, 2023, from Digital Literacy, Libraries, and Public Policy (ala.org)
กวินท์ บินสะอาด. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2566). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี:
ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64.
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). ผู้นำที่เรียกว่า Digital Leader ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. HR Society Magazine, 15, 172, 20-23.
ณิชดาพร หวานสนิทและพรรณีผุดเกตุ. (2565). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสงขลา สตูล. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน, 7(2), 127-142.
ปุณณิฐฐา มาเชค. (2565). การบริหารองค์กรทางการศึกษาในยุคดิจิทัล. ชลบุรี: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพป.ฉะเชิงเทราเขต 2 พ.ศ. 2566-2570. (2566). วิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน (Web-Based Instruction : WBI). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566. จาก http://www.ccs2.go.th/web/tb_plandev.php.
มูฮำหมัดรุชลัน ลือบากะลูติง. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำการดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกริก.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, สุภมาส อังศุโชติ และและอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2560). สิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำเพื่อตอบสน่องต่อ Digital disruption (Web-Based Instruction : WBI). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566. จาก https://www.it24hrs.com/2016/manager-digital-disruption/.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว