ทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21, การบริหารงานบุคคล, ผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 2) เปรียบเทียบระดับทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยกำหนดแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 5 คน 2) เชิงปริมาณ คือ ผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้จากผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วนและการเลือกกลุ่มตัวอย่างได้มาจากทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) แบบสัมภาษณ์โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม 2) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างหรือเปรียบเทียบด้วยสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบระดับทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยรวมจำแนกตามเพศไม่แตกต่าง ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารงานบุคคลในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสังขละบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมให้ผู้บริหารและผู้บริหารต้องพัฒนาตนเองทั้งในทักษะการสื่อสาร ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหาร ทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาของผู้บริหารสถานศึกษา
References
กณิษฐา ทองสมุทร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (ค้นคว้าอิสระการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กรรณิกา กันทำ. (2561). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จันทรานี.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ชุ่มชวย, อดุลย์พร, บุศรากูล, ธีระพงศ์. (2020). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 7, p. 175-186.
ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). ผู้บริหารกับการครองตน ครองคน และครองงาน : สุดยอดนักบริหาร. นครราชสีมา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: ตีรณสาร.
นิภาพร รอดไพบูลย์. (2565). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญส่ง กรุงชาลี. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.
พรพิมล แก้วอุทัศน์. (2563). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่21ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ตามทัศนะของครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิมพ์พร จารุจิตร์ (2559). ภาวะผู้นํากับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. (เอกสารประกอบการเรียนการสอน). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ (2560). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2(1).
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มนตรี.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ ศษ.ม). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วนิดา เหลนปก. (2560). การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนวัดราษฎร์บารุง (ไสวราษฎร์อุปถัมภ์). (การค้นคว้าอิสระการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ พับลิชชิ่ง เฮ้าส์.
วัลลิภา พูลศิริ. (2562). การศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
แวสือมาน หามะ. (2565). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศศิวิมล คนเสงี่ยม. (2563). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 . แผนปฏิบัติการประจำปี. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก http:// www.kaned3.go.th.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2556). นโยบายจุดเน้นการดำเนินงานสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุดารัตน์ เหมาะสมาน. (2561). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
อติกาญจน์ ศรีสังข์. (2564). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Adegbemile. (2011). Principals’ Competency Needs for Effective Schools’ Administration In Nigeria. Journal of Education and Practice. 2(4), 17-18.
Calwell, J.S. (2000). An Analysis of Technical, Human and Conceptual Skill Among Student Affairs Administrators in Higher Education. Dissertation Abstract International. 23: 64-A.
Hoy, K. and Miskel, G. (2001). Education Administration: Theory, Research, and Practice. (6th ed). New York: Random House.
Kimbrough, R.B. and Nunnery, M.Y. (1983). Educational Administration. (2nd ed0. New York: McMillan.
Marafino, A. J. (2005). Perceived Administrative Skills of Elementary Principals as Measured by the NASSP Assessment Center Skills Dimensions. Dissertation Abstract International.
Waston, S. H. (2000). Leadership requirements in the 21 century: The perceptions of Canadian private sector leaders.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว