การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกของครูในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • หิรัญ อุทธวงค์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • พัชราภรณ์ ดวงชื่น มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนเชิงรุกของครู, ปัญหาการสอนเชิงรุกของครู โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการสอนเชิงรุกของครูในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย 2) ออกแบบและสร้างรูปแบบ 3) ประเมินรูปแบบ 4)เปรียบเทียบผลการทดลองใช้รูปแบบ ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และ5) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ ในด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน จากโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 7 โรง ผู้ให้ข้อมูลรวม จำนวน 112 คน ใช้โรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษาเป็นโรงเรียนทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา 2) แบบประเมินความตรงเชิงเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพปัญหา 3) รูปแบบการสอนเชิงรุกของครู 4) แบบประเมินความตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบการสอนเชิงรุกของครู 5) แผนปฏิบัติการทดลอง 6) แบบประเมินผลการทดลองก่อนและหลังการใช้รูปแบบ และ7) แบบประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณค่าต่อรูปแบบการสอนเชิงรุกของครู หาคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่า IOC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการทดสอบค่าที

                 ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการสอนเชิงรุกของครู ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การออกแบบและสร้างรูปแบบการสอนเชิงรุกของครูได้จากการสังเคราะห์ทฤษฎีและงานวิจัย  มีองค์ประกอบ 6 ขั้นตอนคือ  การเตรียมความพร้อม การสร้างแรงจูงใจ การสืบค้นหาข้อมูล การนำเสนอ การสรุปความรู้ และการประเมินความสำเร็จ ตั้งชื่อว่า PIA-NCS Model 3) ผลการประเมินรูปแบบการสอนเชิงรุกของครูปรากฎว่าหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ และเป้าหมายของรูปแบบ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 4) ผลการเปรียบเทียบการทดลองใช้รูปแบบพบว่าค่าเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 5) ผลการใช้รูปแบบด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ ผู้บริหารควรกำหนดเป็นนโยบายให้คณะครูนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณค่าในจัดการเรียนการสอนต่อไป

References

กานต์ อำพรานนท์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิชาความเป็นครูสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม -ธันวาคม 2561 ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร.

กฤติเดช สุขสาร. (2562). การประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 17-24.

จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ค้นเมื่อมกราคม 10, 2567, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=175542

ชงโค มิตรประยูร. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารโครงการพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในโรงเรียนขนาดกลางสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

เทพบดินทร์ คะสา. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน. ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1, 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ทรงนคร การนา และฤทัย ประทุมทอง. (2565). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องการเขียนคำสั่งพื้นฐานวิชาโปรแกรมเมเบิลคอนโทรเลอร์ เบื้องต้น ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการสอน โดยใช้เกมสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาช่าง เมคคาทรอนิกส์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2(2565): พฤษภาคม -สิงหาคม 2565 วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกและแนวคิดการ เรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานเพื่อการออกแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนและ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาครุศาสตร์. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC: The Real Meaning of IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24(2). 3-12.

พรชัย จันทะคุณ และคณะ. (2564). การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 จังหวัดกำแพงเพชร. 11 (2). 38 – 39.

ภัคกร บุญพันธ์. (2563). ประสิทธิผลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2560). โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนรู้แบบ Phenomenon-based Teaching and learning. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.

วชิรา ฉางวางปราง. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ Active Learning ตาม แนวคิด ทฤษฎีการใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based learning) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา. 1327-1340.

วลิดา อุ่นเรือน. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วย การปฏิสัมพันธ์ ทางสังคมร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนักศึกษาครู. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาเรียนรู้” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: กรุงเทพมหานคร.

วิภาภรณ์ สร้อยคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCAเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์รปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร. สว่างแดนดิน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริพร ดีน้อย. (2562). การพัฒนารูปแบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุภัทรา ภูษิตรัตนาวลี. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับคณาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 10(1): 140-143.

สุรินทร์ อนุชิราชีวะ. (2554). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. ธนบุรี.

สุรีย์มาศ สุขกสิ. (2559). รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารวิจัยรําาไพพรรณี ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2560: 133-140.

เสถียร วัชระนิมิต. (2562). รูปแบบการบริหารงานด้านการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดนักสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. ปทุมธานี.

อนงค์นาถ เคนโพธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

Sherman. S. J.; & Sherman. B. S. (2004). Science and Science teaching. Westport: Greenwood Press. P.22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-05