การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ยลญา อินทร์ปัญญา มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
  • สุกัญญา สุดารารัตน์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารแบบมีสวนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD

ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ และ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และ2) ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวม พบว่า เพศ ประสบการณ์ทำงาน และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่ขนาดโรงเรียนต่างกัน ในภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กันทิมา ตีกะพี้, ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2566). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 24(1): 28-39.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น. (2566-2570). สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2567. จาก www.dla.go.th.

คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. (2560). นโยบาย สานพลังประชารัฐ. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2567. จาก http://www.e3pracharath.com/e3/.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2561). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1): 14-78.

จิรภิญญา ช่างประดิษฐ์. (2564). แนวทางการเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิติพงษ์ แก้วกัลยา. (2556). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มสถานศึกษาที่ 15 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิพนธ์ เทพวัลย์. (2521). วิธีการศึกษาและวิจัยทางสังคมศาสตร์, มนุษย์กับสังคม. สุจิต บุญบงการ (บรรณาธิการ). พระนคร: โรงพิมพ์จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

นุรไอนี เจ๊ะกา. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนมาตรฐานสากล จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บวร เทศารินทร์. (2559). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ความเชื่อมโยง Paradigm การบริหาร Thailand 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 17(11): 167-180.

ศมนภร นาควารี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผล ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เขต 31. (งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สราวุฒิ นาแรมงาม. (2562). ผู้นำการขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0, (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579, (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

วาสนา โพธิ์อ่อง. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาในสังกัด (SAR) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2565. สุพรรณบุรี : สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสุพรรณบุรี.

Cohen, J. M. and N.T. Uphoff. (1981) Participation 's place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Development.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G. (2008). Educational Administration Theory Research and Practice. (8th ed). McGraw - Hill Inc.

Hughes, S., & Haworth, N. (2011). The International Labour Organization (ILO): comingin from the cold (Vol. 45). Routledge.

Key, S. (2000). The effect of culture on management style: A comparison of U.S. and Indonesian managers. Journal of Transnational Management Development, 5(3), 23-46.

Marvin E. Olsen. (1978). The process of social organization: Power in social systems. (2nd ed.). USA: Holt, Rinehart and Winston.

Michelle Hawley. (2023). What Is Participative. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2023. จาก https://www.reworked.co/leadership/what-is-participative-leadership/.

Schein, Edgar H. (2010). Organizational Culture and Leadership. Boston: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-07