ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ มณีแสงวิจิตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • นิวัตต์ น้อยมณี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • กัญภร เอี่ยมพญา มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

Innovative leadership, Administrators, Chachoengsao primary educational service area office 2

บทคัดย่อ

สถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 317 คน ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยเทียบสัดส่วนของประชากรกับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด จากนั้นจึงสุ่มอย่างง่าย เพื่อให้ได้ครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างด้วย ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก คือ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง อันดับสุดท้าย คือ ด้านการบริหารความเสี่ยง 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 พบว่า จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ขนาดสถานศึกษา โดยรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กุลชลี จงเจริญ. (2561). เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 12 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จุมพล อินทรศร. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน กรงเทพมหานครกับการส่งเสริมให้ครูใช้สื่อดิจิทัลที่เป็นสถานการณ์จำลองเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธมนวรรณ จันทร์สวย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นุชิดา สุวแพทย์. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุรีวิทยาสาส์น.

ปริวัฒน์ ยืนยิ่ง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. คณะศึกษาศาสตร์ บริหารการศึกษา.

ปาริฉัตร นวนทอง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พัชญ์วิสา จันทพิมพ์. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

เพ็ญนภา แสงแก้ว. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาเถิน 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. เล่ม 134 (ตอนที่ 40).

วัชรพงศ์ ทัศนบรรจง. (2563). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ ค.ม.), มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วิชญะ ประทุมมา. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสังฆมณฑลนครราชสีมา. (หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริพรพรรณ์ สียวง. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

สมชาย มะลิซ้อน. (2566). ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนวัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ). สัมภาษณ์, 31 ตุลาคม 2566.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี งบประมาณ 2566.

อนุชิต โฉมศรี. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากลในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุทุมพร จันทร์สิงห์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing. (5thed.). New York: Harper and Collins.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1987). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-09