การพัฒนารายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย : จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
รายวิชาการงานอาชีพ, ความสนใจในอาชีพ และงานอาชีพ, บริบทการศึกษาของจังหวัดนนทบุรีบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดนนทบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านคหกรรมศาสตร์ และด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 15 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) รายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดนนทบุรี และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของรายวิชาการงานอาชีพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดนนทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1) อาชีพที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรีให้ความสนใจ ประกอบด้วย 5 อาชีพ ได้แก่ อาชีพเชฟ อาชีพบาริสต้า อาชีพนักขายออนไลน์ อาชีพชาวสวน และอาชีพเกษตรกรฟาร์มเห็ด
2) งานอาชีพที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรีให้ความสนใจ ประกอบด้วย 8 งาน ได้แก่ งานประกอบอาหาร งานตกแต่งบ้าน งานชงและตกแต่งกาแฟ งานปลูกดอกไม้ประดับ งานจัดทำบัญชี งานจัดโต๊ะอาหาร งานแฮนด์เมด และงานต้อนรับประสานงานโรงแรม
3) รายวิชาการงานอาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดนนทบุรี ที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 5 รายวิชา ได้แก่ รายวิชายอดตำรับอาหารไทย รายวิชานักชงกาแฟมืออาชีพ รายวิชาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร รายวิชาฟาร์มเห็ดเปิดท้าย และรายวิชาเปิดตลาดออนไลน์ แต่ละรายวิชาประกอบด้วย คือ ชื่อรายวิชา จำนวนชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา ผลลัพธ์การเรียนรู้ และโครงสร้างรายวิชาที่มีส่วนประกอบทั้งชื่อหน่วย คำอธิบายรายหน่วย จำนวนชั่วโมง และทรัพยากรการเรียนรู้
4) ผลการประเมินคุณภาพรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านคหกรรมศาสตร์ และด้านหลักสูตรและการสอน พบว่า ทุกรายวิชามีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.63 S.D. = 0.02) โดยรายวิชาที่มีคุณภาพระดับสูงสุด ได้แก่ รายวิชานักชงกาแฟมืออาชีพ มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด (
= 4.70 S.D. = 0.08) รองลงมาคือ รายวิชาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด (
= 4.69 S.D. = 0.09) และรายวิชาที่มีคุณภาพระดับน้อยที่สุด ได้แก่ รายวิชาฟาร์มเห็ดเปิดท้าย มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด (
= 4.53 S.D. = 0.13)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2567). หลักการเขียนคำอธิบายรายวิชา. (Online). https://ades.muti.ac.th/static/filecourse/%EOvB8AB·/E0%.B8AS%E0B8%81%E0%B82681%E0%B8%B20E0%B8%A3 E0/B9%80 E0/B8%829,E0/B8A29E0%B8%,99E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B898%E00B809AE0B8B29E0%B8%A2%E0%B8%A30E0%/B80.B20%E0%B8KA20F00.B8%A79E09B8% 8A%E0B8%B2.pdf 3 เมษายน 2567.
มอร์ Moore. (2009). "Techniques for arousing attention". Songkhla: Rajabhat University.
วารุณี คงมั่นกลาง. (2560). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การบูรณาการชิงสร้างสรรค์. กรุงทพ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระ. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดจันทบุรี. (2564). การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ. จันทบุรี: โรงพิมพ์จันทบุรีการพิมพ์.
สุรเชษฐ์ ตรรกโชติ. (2563). เทคนิคเพื่อความสนใจให้กับผู้เรียน. (Online). https://www.educathai.com/knowledge/artictes/359, 7 เมษายน 2567.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์.
Colman. H. (2023). "How to Write a Course Description" (Online). https://www.ispringsolutions.com/blog/how-to-write-course-description April 3,2024.
Drew University. (2024). “Writing a Course Description” (Online). https://drew.edu/academic/office-of-the-registrar/faculty-staff-tools-info/writing-a-course-description/ April 3, 2024.
Kolb, D. A. (2005). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice-Hall, Inc. Englewood Cliffs, N.J. 38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว