การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้, ทักษะการเรียนรู้, ทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
ปัจจัยที่สำคัญในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรักในการเรียนรู้ มีทักษะการเรียนรู้และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง คือ ทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed learning) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง ด้วยแบบแผนการทดลอง The one group time series design กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา GTP514 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 6 ห้องเรียน จำนวนนักศึกษา 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ เท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาทั้งหมดมีทักษะการเรียนแบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นในทุกช่วงระยะเวลาของการประเมิน จากการวัดทั้งหมด 6 ครั้ง โดยการวัดครั้งหลังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าการวัดครั้งก่อนหน้าทุกครั้ง นั่นคือ นักศึกษามีพัฒนาการทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้น
References
กิตติวัฒน์ แฝงบุญ และเศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ. (2566). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์วิชา สังคมศึกษา เรื่อง วัฒนธรรมทางศาสนา โดยการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอำนาจเจริญ. วารสารครุทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 3(2): 49-64.
เขมณัฏฐ์มิ่งศิริธรรม. (2552). การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบนเครือข่าย: Self-directed Learning on Web-based Learning. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 32(1): 6-13.
ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 3(1): 51-57.
พราวเพ็ญธรรม เรืองศรี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านผ่านสื่อ ออนไลน์ที่ส่งผลต่อการนำตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรภร ผลิตากุล. (2561). ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการจัดการเรียนรู้ดนตรี. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(2): 429-444.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: เอสบีเค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Alerson, L. (2017). Growth Mindset: The Door to Achieving More. https://www.free-ebooks.net/ e-book/Growth Mindset-The-Door-to-Achieving-More/pdf?dl&preview Retrieved, 20 Sep. 2018.
Dweck, C. (2008). Mindset. New York, NY: Ballantine Books. Flores., Lemons. and McTernan. 2011.
Dweck, C. (2012). Mindset: How You Can Fulfill Your Potential. London: Robinson.
Knight. (2009). Coaching Approaches & Perspectives. California: Corwin Press.
Marzano, Robert J. and Simms, Julia. (2012). Coaching Classroom Instruction: The Classroom Strategies Series. Bloomington: Marzano Research Laboratory.
Rienzo, C., Rolfe. H., Wilkinson. (2015). Changing Mindsets: Evaluation Report and Executive Summary. London: National Institute of Economic and Social Research.
Sobel, Andrew and Panas, Jerold. (2012). Power questions: build relationships, win new business, and Influence others. New York: John Wiley & Sons, Incorporated.
Sweeney, Diane. (2011). Student – Centered Coaching: A Guide for K – 8 Coachers and Principles. California: Corwin Press.
Weiss. and Fortus. (2013). “School, Teacher, Peers, and Parents’ Goals Emphases and Adolescents’ Motivation to Learn Science in and out of School”. Journal of Research in Science Teaching. 50(8): 952 –988.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว