แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พาทินธิดา การะวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา วิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 นำเสนอแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน โดยการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2.ปัญหาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง และ 3.แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยรายการปฏิบัติจำนวน 31 รายการ โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ 1. ด้านการสร้างภาวะผู้นำร่วม จำนวน 5 รายการ 2. ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ จำนวน 6 รายการ 3. ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนจำนวน 6 รายการ 4. ด้านวิสัยทัศน์ร่วม จำนวน 8 รายการ และ 5. ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ จำนวน 6 รายการ

References

Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and practice of the learning organization. London : Century Press.

วิจารณ์ พานิช. (2560). การจัดการความรู้ คือ อะไร : ไม่ทำไม่รู้. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/21446

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(1),93-102.

พิชิต ขำดี และต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2561). ความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(2), 67 – 78.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี. สืบค้นจาก https://www.sesact.go.th/index.php/17521

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-13