แนวทางการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

ผู้แต่ง

  • ชินภัทร ฉิมทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ธีระวัฒน์ มอนไธสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แนวทางการเสริมสร้าง, การทำงานเป็นทีมของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน 2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน การดำเนินงานวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 302 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพปัจจุบันเท่ากับ 0.98  และด้านสภาพที่พึงประสงค์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI   2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 ท่าน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมโดยภาพรวม มีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.04 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีความต้องการจำเป็นสูงสุดอันดับแรก โดยมีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.06 รองลงมา คือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน มีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.05 และต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารที่เปิดเผยและด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน มีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.03 ตามลำดับ 2) แนวทางการเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 7 ด้าน 31 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน มี 7 แนวทาง เช่น มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของทีมทั้งงานหลักและงานย่อย 2) ด้านการสื่อสารที่เปิดเผย มี 5 แนวทาง เช่น มีความสัมพันธ์อันดีในการสื่อสารภายในทีม 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงาน มี 5 แนวทาง เช่น มีการจัดกิจกรรมและวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อส่งเสริมการให้ความร่วมมือของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง 4) ด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน มี 4 แนวทาง เช่น สมาชิกทุกคนให้การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน 5) ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ มี 4 แนวทาง เช่น มีการส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนแสดงออกด้านภาวะผู้นำและผู้ตามอย่างเหมาะสม 6) ด้านการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มี 3 แนวทาง เช่น สมาชิกมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ่อยครั้งเพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน 7) ด้านการกำหนดบทบาทและมอบหมายงานที่ชัดเจน มี 3 แนวทาง เช่น จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2561). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประหยัด ชำนาญ. (2562). การพัฒนาแนวทางการทำงานเป็นทีมสำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พสชนันท์ บุญช่วย. (2561). อิทธิพลของความสุขในการทำงาน ความไว้วางใจในองค์กร และความมั่นคงในงาน ส่งผลต่อความผูกพันและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี, Veridian E-Journal, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัสวีพิชญ์ ศิลาสุวรรณ. (2565). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ้งเพชร ทรัพย์เจริญ. (2563). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในสถานศึกษาอำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Ayres, C. L. (1993). The relationship between productivity and work team autonomy and effectiveness. Dissertation Abstracts International, 54(2), 379-A.

Hall, W. R. (1999). The use of dual planning periods by middle school team. Dissertation Abstracts International, 59(9), 547 -556.

Krejcie, R. V., & Morgan, D., W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), pp.608-609.

Parker, G. M. (1990). Team players and teamwork: The new competitive business strategy. California: Jessey & Bass.

Pitoe, J. V. (2014). How do school management tems experience teams experience teamwork: A case study in the school in school in the Kamweng district, Uganda Mediterrnean. Journal of social science, 5(3), 21 -27.

Woodcock, M., & Francis, D. (1994). Team building strategy. Hampshire: Gower Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-09