ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Nareenat Aiemsen โรงเรียนแสงหิรัญวิทยา
  • นิวัตต์ น้อยมณี มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของครู, การบริหารงานบุคคล, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร  2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา อายุ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนในเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร  จำนวน 113 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยเทียบสัดส่วนประชากรและกลุ่มตัวอย่างตามรายโรงเรียน จากนั้นใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม 5 ระดับ มีความน่าเชื่อถือทั้งฉบับอยู่ที่ระดับ.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

  1.  ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายได้ พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับแรก ได้แก่ ด้านการเลื่อนวิทยฐานะ รองลงมา ได้แก่ ด้านการบรรจุและแต่งตั้ง และด้านที่อยู่ในอันดับสุดท้ายอันดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน
  2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายที่ 36 สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พบว่า เมื่อการเปรียบเทียบตามเพศ พบว่า แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน เปรียบเทียบตามวุฒิการศึกษา เปรียบเทียบตามอายุ และเปรียบเทียบตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กนกกาญจน์ แก้วนุช. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล ในกลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐยา สุนารี. (2561). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตคลองสามวา(เครือข่ายเรียนที่ 49). (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาพร มนัสมัญชุภา. (2561). ความพึงพอใจของครูต่อการจัดการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นวพัชญ์ ฉีดจันทร์. (2564). การบริหารงานบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัญญาวัฒน์ สังฆะ และ นิตยา เปี่ยมพืชนะ. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 7(1): 488-499.

สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.). (2022). 30 นโยบายเรียนดี ของผู้ว่าฯชัชชาติ ปักธงลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาระครู ผู้ปกครอง ปั้นโรงเรียนคุณภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2566. จาก https://research.eef.or.th/30-study-policy-chadchart/.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). การบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครตำแหน่งครูผู้ช่วย กรุงเทพมหานคร. เอกสารสำนักงาน.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2564. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2565. จาก https://webportal.bangkok. go.th/public/user_files_editor/116/ITA/O12.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2566). แผนการปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2566 สำนักการศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2566. จาก https://webportal.bangkok. go.th/user_files.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา. กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

สุภาภรณ์ หาญณรงชัยกิจ. (2561). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชุมพร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุวรรณา อ่อนแก้ว. (2562). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต), สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนัฐพร พานพินิจ และชนมณี ศิลานุกิจ. (2563). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารจัดการสถานศึกษาของ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 9 - 10 กรกฎาคม 2563. 3007-3014.

Anna Toropova. (2019). Teacher Job satisfaction: the importance of school working conditions and teacher characteristics. Routledge Taylor & Francis Group. (73): 71-97.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Likert,R. (1967). The human organization its management and values. New York: Harper Mcgraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-13